20 ลาก่อนภาษาอังกฤษ รวมประโยคบอกลา ไว้เจอกันใหม่ ไว้คุยกันใหม่
วิธีบอกลาภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยที่สุดคือ
Bye
(บาย)
ลาก่อน
แต่ภาษาอังกฤษมีวิธีบอกลาอีกหลายวิธี และคุณควรเลือกใช้การบอกลาที่เหมาะสมด้วย ในบทความนี้เราจะมาเรียนภาษาอังกฤษเรื่องวิธีการบอกลาภาษาอังกฤษ เมื่ออ่านจบแล้ว คุณจะสามารถเลือกวิธีบอกลาภาษาอังกฤษได้ ไม่ว่าจะเป็นการบอกลาง่ายๆ สั้นๆ หรือการบอกลาเท่ๆ ภาษาอังกฤษก็สามารถทำได้เช่นกัน
วิธีพูดว่า “ลาก่อน” ในภาษาอังกฤษ
วิธีบอกลาต่อไปนี้สามารถใช้ได้แทบทุกสถานการณ์ิ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน กับเพื่อนหรือคนรัก เรียกได้ว่าใช้ได้กับทุกคนเลยทีเดียว มีคำว่าอะไรบ้างนั้นมาดูกัน
1. Bye (บาย) — ลาก่อน, บาย
เป็นคำอำลามาตรฐานทั่วๆไป สั้น เรียบง่ายและสามารถใช้ได้กับทุกคน เหมาะสำหรับใช้พูดกับเพื่อนและคนในครอบครัว รวมไปถึงเพื่อนร่วมงานและหุ้นส่วนธุรกิจ ถึงแม้ว่าคุณจะใช้สำนวนอื่นๆแล้วก็ตามแต่โดยปกติก็ยังสามารถต่อท้ายด้วยคำว่า “Bye” (บาย) ได้ด้วย นอกจากนี้คำว่า Bye ยังกลายเป็นคำยืมในภาษาจีน เพื่อใช้ในการบอกลาภาษาจีนอีกด้วย
2. Bye bye! (บ๊าย บาย) – ลาก่อน, บ๊ายบาย
เป็นสำนวนอ่อนหวาน น่ารัก ฟังดูไร้เดียงสา มักใช้พูดกับเด็กๆ เท่านั้น แต่ก็มีบางครั้งที่ผู้ใหญ่จะใช้คำว่า bye bye เพื่อบอกลากันและกัน และต้องเป็นคนที่รู้จักกันดีอยู่แล้วเท่านั้นหรืออาจจะพูดเพียงเพื่อต้องการทำให้ดูน่ารักหรือทำให้ดูกรุ้มกริ่ม แต่จำไว้ว่าเราจะไม่พูดคำนี้กับเพื่อนร่วมงานหรือหุ้นส่วนทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตามคำบอกลา Bye bye มีอิทธิต่อภาษาอื่นๆ มาก เช่น ในภาษาไทย เราสามารถกล่าวว่า “บ๊าย บาย” ได้ ซึ่งเป็นเป็นการยืมคำมาจากภาษาอังกฤษ และนำมาเขียนเป็นภาษาไทย ส่วนการบอกลาภาษาญี่ปุ่น ก็นำคำนี้มาเป็นคำยืม และใช้ในการบอกลาเป็นภาษาญี่ปุ่นได้เช่นกัน
3. Farewell (แฟร์เว็ลล์) — ลาก่อน
เป็นวิธีที่สุภาพและเป็นทางการที่ใช้พูดกับผู้อื่นในขณะที่พวกเขาอยู่กำลังจะห่างจากคุณไป ถ้าคุณกำลังจะออกจากงานหลังจากที่ทำงานมาเป็นเวลานาน เพื่อนร่วมงานของคุณอาจจะจัดงานเลี้ยงอำลาให้กับคุณเรียกว่า Farewell Party คำว่า “Farewell” เป็นสำนวนที่แปลว่า ”ลาก่อน” เหมือนกับคำว่า goodbye และยังสามารถใช้เป็นคำนามได้ด้วย เช่น
If you like to leave without a lot of fuss, you don’t like long farewells.
(อีฟ ยู ไลค์ ทู ลีฟ วิธเอาท์ เออะ ล็อท ออฟ ฟัสส์, ยูว ดอนท์ ไลค์ ลองก์ แฟร์เว็ลล์)
หากคุณต้องการออกไปแบบไม่วุ่นวาย คุณจะไม่ชอบงานเลี้ยงอำลาที่ใช้เวลายาวนาน
4. See you later (ซี ยู เลเทอะ) — แล้วพบกันใหม่
เป็นสำนวนที่เหมาะสำหรับทุกคน ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานถึงเพื่อนสนิท บ่อยครั้งเราจะพูดสำนวนนี้ก่อนและปิดท้ายด้วยการพูดว่า “Bye” (บาย) เพราะคำว่า “Bye” (บาย) มันฟังดูห้วนไปสักหน่อย
จำไว้ว่าบางครั้งอาจจะได้ยินประโยคนี้แบบสั้นๆว่า See you (ซียู) หรือ See ya (ซียา) ซึ่งคำว่า you จะเขียนและออกเสียงว่า ya (ย่ะ) กลายเป็น
See ya!
(ซี ย่ะ)
เจอกัน!
อีกสำนวนที่ฟังดูสบายๆ ไม่เป็นทางการคือ คำว่า “Later” (เลเทอะ) ซึ่งย่อมาจาก “See you later” (ซี ยู เลเทอะ) นั่นเอง ยังมีประโยคอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น
- See you soon
(ซี ยู ซูน)
ไว้เจอกันใหม่เร็วๆ นี้, แล้วพบกันเร็วๆ นี้ - Talk to you later
(ทอล์ค ทู ยู เลเทอะ)
ไว้คุยกันใหม่
หากคุณรู้ว่าคุณจะได้เจอกันอีกเมื่อไหร่ คุณยังสามารถระบุวันเวลาที่จะได้เจอกันอีกด้วย เช่น
- See you tomorrow
(ซี ยู ทูมอร์โรว)
เจอกันพรุ่งนี้ - See you next year
(ซี ยู เน็กส์ เยียร์)
เจอกันปีหน้า - Talk to you tomorrow
(ท็อล์ค ทู ยู ทูโมร์โรว)
พรุ่งนี้คุยกันใหม่
กรณีที่คุณไม่รู้ว่าจะได้เจอกันอีกเมื่อไหร่ แต่ก็หวังว่าจะได้เจอกันเมื่อมีโอกาส ในภาษาไทยมักจะได้ยินพูดว่า “โอกาสหน้าเจอกันใหม่” ในภาษาอังกฤษสามารถใช้สำนวนต่อไปนี้ได้
- I hope to see you again sometime
(ไอ โฮป ทู ซี ยู อะเก็น ซัมไทม์)
ฉันหวังว่าจะได้พบคุณอีกครั้งในโอกาสหน้า - Let’s meet again sometime.
(เล็ทส์ มีท อะเก็น ซัมไทม์)
โอกาสหน้ามาเจอกันใหม่นะ
5. I’ve got to get going (ไอฟ์ ก็อท ทู เก็ท โกหวิ่ง) — ฉันต้องไปแล้ว
เป็นสำนวนที่ใช้เมื่อคุณพร้อมที่จะออกจากงานเลี้ยงสังสรรค์ อาจจะดูหยาบคายถ้าจู่ๆคุณพูดว่า Bye (บาย) กลางวงสนทนาแล้วเดินออกมาเลย การใช้สำนวน I’ve got to get going (ไอฟ์ ก็อท ทู เก็ท โกหวิ่ง) ก็เพื่อเป็นการบอกให้คนอื่นรู้ว่าเราเตรียมตัวจะกลับแล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย อาจจะมีคำอธิบายสั้นๆก่อนที่คุณจะไป ยกตัวอย่างเช่น
“I’ve got to get going. I have to pick up the kids at school”.
(ไอฟ์ ก็อท ทู เก็ท โกหวิ่ง. ไอ แฮฟว์ ทู พิค อัพ เดอะ คิดส์ แอท สคูล)
ฉันต้องไปแล้วนะ ฉันต้องไปรับลูกๆที่โรงเรียน
ประโยคข้างบนเป็นแสดงให้ผู้อื่นรับรู้ว่าคุณกำลังสนุกอยู่และไม่อยากจะไปแต่ก็ต้องไป ประโยคใกล้เคียงอื่นๆ เช่น
- I must be going
(ไอ มัสท์ บี โกหวิ่ง)
ฉันต้องไปแล้วนะ - I should be going
(ไอ ชูด บี โกหวิ่ง)
ฉันควรจะไปแล้ว - I have got to go
(ไอ แฮฟ ก็อท ทู โกว)
ฉันต้องไปแล้ว
6. I’m off (ไอม ออฟ) — ฉันไปล่ะนะ
เป็นอีกวิธีพูดแบบไม่เป็นทางการในการบอกให้ผู้อื่นรู้ว่าคุณพร้อมที่จะลากลับแล้ว อาจจะปรับการพูดให้นุ่มนวลลงได้ ด้วยการพูดว่า
“right then, I’m off”
(ไรท์ เธ็น, ไอม ออฟ)
งั้นก็ ฉันไปล่ะนะ
หรือ
“Anyway, I’m off.”
(เอนี่เวย์, ไอม ออฟ)
เอาล่ะ ฉันไปก่อนนะ
คำว่า “Right then” หรือ “Anyway” เป็นคำที่ใช้พูดเพื่อใช้ตัดจบเรื่องใดๆ ก็ตามที่พูดก่อนหน้านี้ และเริ่มพูดเรื่องใหม่ เพื่อไม่ให้การบอกลาห้วนเกินไป คุณสามารถอธิบายสั้นๆ ได้ด้วยว่าทำไมคุณถึงต้องไป ยกตัวอย่างเช่น
“anyway, I’m off. I’ve got a lot to do tomorrow”.
(เอนี่เวย์, ไอม ออฟ ไอฟ์ ก็อท เออะ ล็อท ทู ดู ทูมอโรว์ )
เอาล่ะ ฉันไปละนะ พรุ่งนี้ฉันมีอะไรต้องทำเยอะแยะเลย
เพื่อช่วยให้คุณลาแบบสบายๆ และช่วยให้คุณเดินออกไปได้อย่างไม่มีปัญหา
7. Keep in touch (คีพ อิน ทัช) — ติดต่อกันบ้างนะ
สำนวนนี้นิยมใช้พูดกับเพื่อนหรือครอบครัวที่ไม่มีโอกาสเจอกันบ่อยๆ และต้องการติดต่อกันอยู่
แต่จำไว้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เพิ่งพบกันบ่อยครั้งก็จะพูดคำนี้โดยไม่ได้หมายความตามนั้นจริงๆ เราอาจจะต้องสังเกตจากภาษากายหรือบทสนทนาก่อนที่คุณจะอำลากัน ถ้าบทสนทนาสั้นและอีกฝ่ายไม่ได้ให้ความสนใจคุณเท่าไหร่นัก การพูดว่า Keep in touch (คีพ อิน ทัช) อาจจะเป็นเพียงแค่คำอำลาทั่วไป โดยไม่ได้ตั้งใจจะติดต่อกันจริงๆ
8. Have a good one (แฮฟ เออะ กู้ด วัน) — ขอให้มีความสุขนะ
ประโยคนี้เป็นประโยคไม่เป็นทางการ ใช้กันมากในอเมริกา สำนวน “Have a good one” เป็นการบอกลาด้วยไม่เจาะจงว่าเป็นเวลาใด สามารถใช้กับใครก็ได้ สามารถใช้เป็นคำอวยพรให้ใครบางคนสนุกกับเหตุการณ์หรือโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะวันหยุดหรือใช้ร่วมกับการอวยพรวันเกิดภาษาอังกฤษ
9. Cheerio (เชียริโอ) — ลาก่อน
เป็นอีกคำอำลาแบบไม่เป็นทางการ ใช้ที่สหราชอาณาจักรเป็นหลัก เป็นการแสดงออกถึงความปรารถนาดีในการจากลาและมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “goodbye” หรือ “ลาก่อน”
นอกจากนี้คำว่า “Cheerio” ยังสามารถใช้เป็นคำอวยพร หรือเสียงโห่ร้องเวลาดื่มฉลอง เช่น เมื่อกล่าวอวยพรปีใหม่ภาษาอังกฤษและดื่มเฉลิมฉลอง หรือพูดสุขสันต์วันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ เป็นต้น
คำอำลาภาษาอังกฤษแบบเป็นทางการและใช้ในทางธุรกิจ
คำบอกลาต่อไปนี้มักใช้ในสถานการณ์ที่มีความเป็นทางการมากขึ้น เช่น การบอกลากับคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก การพบปะทางธุรกิจ เป็นต้น
10. Goodbye (กู้ดบาย) — ลาก่อน
มันอาจจะฟังดูแปลกที่เราแทบไม่ได้ใช้คำว่า “goodbye” ในการบอกลากันสักเท่าไหร่ เพราะมันฟังดูเป็นทางการ อาจใช้ในการบอกลาหลังจากสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ หรือใช้สำหรับการลาจากที่เราจะไม่ได้เจอคนๆนั้นอีก ปกติเราจึงใช้คำว่า “Bye” เพราะจะเหมาะสมกว่า
11. Have a nice day.(แฮฟ เออะ ไนซ์ เดย์) — ขอให้โชคดี, ขอให้เป็นวันที่ดี
ประโยคขอให้ใครสักคนมีวันที่ดีภาษาอังกฤษ เป็นประโยคที่ใช้บ่อย และเป็นวิธีที่สุภาพนุ่มนวลในการกล่าวคำอำลากับใครสักคนที่ไม่ได้รู้จักกันดี อาจใช้พูดกับเพื่อนร่วมงาน, พนักงานเก็บเงิน, หรือคนรู้จักทั่วไป เราสามารถเปลี่ยนคำว่า “Nice” เป็นคำว่า “Good” และเปลี่ยนคำที่ตามหลัง nice/good เป็นคำนามอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น
“have a good vacation”
(แฮฟ เออะ กู้ด เวเคชึ่น)
ขอให้เป็นวันหยุดที่ดี, ขอให้มีความสุขในวันหยุด
ประโยคนี้สำหรับพูดลาใครสักคนก่อนที่พวกเขาจะไปพักผ่อนในวันหยุด หรือ
“have a good weekend”
(แฮฟ เออะ กู้ด วีคเอนด์)
ขอให้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ดี, ขอให้มีความสุขในวันสุดสัปดาห์
ใช้สำหรับพูดลาเพื่อนร่วมงานตอนบ่ายๆของวันศุกร์
12. I look forward to our next meeting (ไอ ลุค ฟอร์เวิร์ด ทู อาวเวอะ เน็กซ์ มีททิ่ง) — ฉันรอคอยการประชุมของเรานัดต่อไป
สำนวนนี้ค่อนข้างเป็นทางการมากๆ ใช้พูดในโอกาสที่คุณต้องการจะทำธุรกิจภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา อาจจะเป็นการให้บริการ หรือการรับรองลูกค้าชาวต่างชาติ เป็นต้น เป็นการบอกให้พวกเขาทราบว่าแม้ว่าจะต้องอำลากันตอนนี้ แต่คุณยังต้องการที่จะติดต่อเขาหรือเธอต่อไป
13. Until … (อันทิล…) — พบกันใหม่…
สำนวนนี้ไม่ค่อยได้ใช้กันมากนัก แต่อาจจะใช้ในกรณีที่คุณทราบว่าจะได้เจอกันในครั้งต่อไป ยกตัวอย่างเช่น หากจะเจอกันอีกครั้งสัปดาห์หน้า เราสามารถพูดว่า
“until next week”.
(อันทิล เน็กซ์ วีค)
พบกันใหม่สัปดาห์หน้านะ
14. It was nice seeing you (อิท เวิส ไนซ์ ซีอิ้ง ยู) — ยินดีที่ได้พบคุณ
สำหรับประโยคนี้ เราสามารถเปลี่ยนคำว่า “seeing” เป็น “meeting” ได้
“It was nice meeting you.”
(อิท เวิส ไนซ์ มีททิ่ง ยู)
ยินดีที่ได้พบคุณ
เมื่อพบกัน เรามักใช้คำทักทายภาษาอังกฤษว่า
“It’s nice to see you”
(อิทส์ ไนซ์ ทู ซี ยูว)
ยินดีที่ได้พบคุณ
ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะบอกลา เราสามารถพูดได้ว่า
“It was nice to see you.”
(อิท เวิส ไนซ์ ทู ซี ยู)
ดีใจที่ได้พบคุณ
เราสามารถใช้สำนวนนี้พูดอำลาใครสักคนที่คุณรู้จักอยู่แล้วได้ โดยการพูดว่า
“It was nice seeing you again.”
(อิท เวิส ไนซ์ ซีอิ้ง ยู เออะเกน)
ยินดีที่ได้พบคุณอีกครั้ง
15. Goodnight (กู้ดไนท์) — ราตรีสวัสดิ์
สำนวนบอกลาอย่างเป็นทางการนี้สามารถใช้พูดได้เฉพาะในตอนค่ำๆ ที่ผู้คนกำลังจะกลับบ้านในตอนกลางคืน จำไว้ว่าประโยคเหล่านี้
- “good morning”
(กู้ด มอร์นิ่ง)
อรุณสวัสดิ์ - “good afternoon”
(กู้ด อาฟเตอร์นูน)
สวัสดีตอนบ่าย - “good evening”
(กู้ด อีฟนิ่ง)
สวัสดีตอนเย็น
เหล่านี้ล้วนเป็นสำนวนทักทายและมีเพียงแค่คำว่า “good night” คำเดียวที่ใช้เป็นคำอำลาได้
คำสแลงสำหรับการบอกลาในภาษาอังกฤษ
คุณสามารถบอกลาโดยใช้คำแสลงได้ คำแสลงที่ใช้บอกลามักใช้กับคนรู้จักที่มีความสนิมกันพอสมควร และคนในครอบครัว หากเป็นการพบปะทางธุรกิจ เราจะไม่ใช้คำแสลงเหล่านี้ในการบอกลา
16. Catch you later (แคช ยู เลเทอะ) — ไว้เจอกันใหม่นะ
เป็นคำสแลงที่มีความหมายว่า “ไว้เจอกันใหม่” ซึ่งใช้กันมากในหมู่วัยรุ่น ใช้กันอย่างเป็นกันเองและควรใช้เฉพาะกับคนที่คุณรู้จักดีเท่านั้น
17. Laters (เลเทอส์) — เจอกันนะ
เป็นคำสแลงสำหรับใช้ในการบอกลา คำว่า “Laters” ย่อมากจาก “See you later” ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือคำว่า “Later” และส่วนที่สองคือ การลงท้ายด้วยตัว “s”
18. I’m out of here (ไอม์ เอาท์ ออฟ เฮียร์) — ฉันไปแล้วนะ
เป็นคำง่ายๆและเป็นกันเองในการบอกให้ผู้อื่นรู้ว่าคุณกำลังจะไป ควรใช้เฉพาะในหมู่เพื่อนฝูงเท่านั้น การพูดสำนวนนี้จะฟังดูเหมือนว่าคุณมีความสุขที่กำลังจะออกไป ดังนั้นต้องระมัดระวังในการใช้ด้วยว่าจะต้องพูดเมื่อไหร่และอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น มีนักเรียนคนหนึ่งพูดว่า “I’m out of here” กับเพื่อนๆหลังจากเรียนวิชาสุดท้าย เพราะเขารู้สึกมีความสุขที่วันนี้เลิกเรียนแล้วและกำลังจะได้กลับบ้าน
หากต้องการพูดสำนวนนี้แบบย่อๆ เราสามารถพูดว่า
- “I’m out”
(ไอม์ เอาท์)
ฉันไปล่ะ - “I’m outta here”
(ไอม เอาท์ทะ เฮียร์)
ฉันจะไปจากที่นี่ล่ะนะ
คำว่า “out of” โดยทั่วไปในภาษาพูดสามารถเปลี่ยนให้สั้นลงเป็น “outta” ได้
19. I gotta take off (ไอ ก็อททะ เทค ออฟ) — ฉันต้องไปแล้ว
เป็นรูปแบบสแลงของประโยค “I’ve got to get going” คำว่า “gotta” นั้นย่อมาจาก “got to” เช่นเดียวกับประโยค “I’ve got to get going” ที่เราจะพูดเพื่อบอกเพื่อนให้รู้ว่าคุณสนุกมากและรู้สึกเศร้านิดหน่อยที่จะต้องไปแล้ว ยังมีสแลงอื่นๆที่คล้ายกันที่เราอาจจะเคยได้ยิน เช่น
- I gotta jet
(ไอ ก็อททะ เจ็ท) - I gotta hit the road
(ไอ ก็อททะ ฮิต โรด) - I gotta head out
(ไอ ก็อททะ เฮด เอาท์)
สแลงเหล่านี้มีความหมายเดียวกันกับ “I gotta take off” ซึ่งหมายถึง “ฉันต้องไปแล้ว”
20. Peace out (พีซ เอาท์) — ลาก่อนนะ
สำนวนนี้สามารถพูดย่อๆว่า “Peace” (พีซ) เป็นวิธีพูดลาทั่วๆไปที่นิยมใช้กันมาในทศวรรษที่ 1990 และยังบางคนยังใช้ถึงทุกวันนี้ แต่จะฟังดูค่อนข้างล้าสมัย หากไม่ใช่สำนวนที่เคยได้ยินจากเพื่อนๆก็อย่าใช้เลยจะดีกว่า
คุณคงเห็นแล้วว่าการบอกลาอาจฟังดูง่าย แต่มีวิธีบอกลามากมายในภาษาอังกฤษ! ในการสนทนาภาษาอังกฤษ บริบทการพูดมีความสำคัญมาก หากต้องการทราบว่าเมื่อใดควรพูดสำนวนเหล่านี้ และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ คุณควรเรียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับบริบทและตัวอย่างการใช้ในบทสนทนาจริงในชีวิตประจำวัน