สรุปการใช้ if clause ประโยคเงื่อนไข type 0, type 1, type 2, type 3

ประโยคเงื่อนไข หรือ Conditional Sentence คือ ประโยคที่พูดถึงเงื่อนไข และผลที่ตามมาของเงื่อนไขดังกล่าว เราจะใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อสื่อสารว่า สิ่งหนึ่งจะเป็นจริงหรือเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออีกสิ่งหนึ่งเป็นจริงหรือเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขนั้น

ประโยคเงื่อนไขในภาษาอังกฤษมี 4 ประเภทที่แตกต่างกัน คนที่เรียนภาษาอังกฤษกับติวเตอร์มาบ้าง คงเคยได้ยินว่าประโยคเงื่อนไขจะแบ่งเป็น type ต่างๆ ดังนี้

  1. ประโยคเงื่อนไข type 0 (Zero conditional sentences) เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงเสมอ ไม่มีทางเปลี่ยนแปลง
  2. ประโยคเงื่อนไข type 1 (First conditional sentences) ใช้กับเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะเกิดขึ้นจริง ถ้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเกิดขึ้น
  3. ประโยคเงื่อนไข type 2 (Second conditional sentences) ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยในอนาคต
  4. ประโยคเงื่อนไข type 3 (Third conditional sentences) ใช้สมมติเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่มีทางเป็นไปได้อีกแล้ว

ประโยคเงื่อนไขที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยส่วนที่เป็นเงื่อนไข ภาษาอังกฤษเรียกว่า conditional clause หรือที่มักเรียกกันว่า if clause เพราะมีคำว่า If มาเป็นคำเชื่อมหรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ และอีกส่วนคือส่วนที่เป็นผลที่ตามมา ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้

ถ้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็นจริง จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่จำเพาะเจาะจงตามมา เช่น

I would travel around the world if I won the lottery.
ถ้าฉันถูกล็อตตารี่ ฉันจะเดินทางไปรอบโลก

When water reaches 100 degrees, it boils.
เมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงถึง 100 องศา น้ำจะเดือด

มาพิจารณาประโยคเงื่อนไขแต่ละประเภทเหล่านี้กันดีกว่าว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน

ประโยคเงื่อนไขแบบศูนย์ (zero conditional sentences)

ประโยคเงื่อนไขแบบศูนย์เป็นประโยคที่บอกเล่าความจริงทั่วๆไป เป็นสถานการณ์ที่มีสิ่งหนึ่งเป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง เราจะใช้ประโยคเงื่อนไขแบบศูนย์ในการพูดถึงความจริงทั่วไปมากกว่าสถานการณ์ที่จำเพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น

When people smoke cigarettes, their health suffers.
เมื่อคนสูบบุหรี่ สุขภาพพวกเขาก็แย่ลง

สิ่งที่ควรทราบเมื่อใช้ประโยคเงื่อนไขแบบศูนย์ คือประโยคทั้งสองส่วนทั้งส่วนที่เป็นเงื่อนไขและส่วนที่เป็นผลจะต้องใช้ simple present tense เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดใช้ simple future tense แทนซึ่งไม่ถูกต้อง

ตัวอย่างประโยคที่ไม่ถูกต้อง

When people smoke cigarettes, their health will suffer.
เมื่อคนสูบบุหรี่ สุขภาพพวกเขาจะแย่ลง

ประโยคเงื่อนไขแบบที่หนึ่ง (first conditional sentences)

ประโยคเงื่อนไขแบบที่หนึ่งใช้สำหรับสถานการณ์ที่ผลลัพธ์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ก็ไม่รับประกันว่าจะขึ้นแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น

If you rest, you will feel better.
ถ้าเราได้พัก เราก็จะรู้สึกดีขึ้น

จากตัวอย่างจะมีกาลเข้ามาเกี่ยวข้องสองกาล ได้แก่ Present Simple Tense หรือประโยคปัจจุบันกาลและ Future Simple Tense หรือประโยคอนาคตกาล

สังเกตว่าเราจะใช้ simple present tense ในส่วนของประโยคเงื่อนไข (if-clause) ส่วนประโยคหลักซึ่งแสดงผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้จะใช้ simple future tense ประโยคลักษณะนี้จะระบุให้เห็นว่าภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง (ที่ปรากฎอยู่ใน if-clause) ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่คนส่วนใหญ่มักใช้ tense ผิด ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างประโยคที่ไม่ถูกต้อง

If you will rest, you will feel better.
หากเราจะพัก เราจะรู้สึกดีขึ้น

สรุป : เราจะใช้ประโยคเงื่อนไขแบบศูนย์ (simple present + simple present) ก็ต่อเมื่อรู้ว่าเกิดผลบางอย่างขึ้นแน่นอน เป็นความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่หากผลลัพธ์ยังเป็นแค่แนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้สูง เราจะใช้ประโยคเงื่อนไขแบบที่หนึ่งแทน (simple present + simple future)

ประโยคเงื่อนไขแบบที่สอง (second conditional sentences)

ประโยคเงื่อนไขแบบที่สองจะใช้ในสถานการณ์ที่ผลลัพธ์ของเงื่อนไขนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมจริงหรือไม่น่าจะเกิดขึ้นจริงได้ในอนาคต ลองพิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้

If I inherited a billion dollars, I would travel to the moon.
ถ้าฉันได้รับมรดกพันล้าน ฉันจะเดินทางไปดวงจันทร์

จากตัวอย่างประโยค Past Simple Tense มีโครงสร้างง่ายๆ คือ ประธาน + กริยาช่อง 2

สังเกตได้ว่าโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขแบบที่สองที่ถูกต้องคือใช้ simple past tense ในส่วนของประโยคเงื่อนไข (if-clause) และใช้กริยาช่วย (เช่น couldshouldwould, might)ในส่วนของประโยคหลัก (ส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความไม่สมจริงหรือผลลัพธ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้) คนส่วนใหญ่มักใช้กาลผิดในประโยคเงื่อนไขแบบที่สอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างประโยคที่ไม่ถูกต้อง

If I inherit a billion dollars, I would travel to the moon.
ถ้าฉันได้รับมรดกพันล้าน ฉันจะเดินทางไปดวงจันทร์

สรุป : ประโยคเงื่อนไขแบบที่สองจะใช้กริยาช่วยในส่วนของประโยคหลัก เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง

ประโยคเงื่อนไขแบบที่สาม (third conditional sentences)

ประโยคเงื่อนไขแบบที่สามใช้สำหรับอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่าผลลัพธ์อาจจะต่างออกไป หากมีบางสิ่งในอดีตเกิดขึ้นต่างไปจากเดิม ดังตัวอย่าง

If you had told me you needed a ride, I would have left earlier.
ถ้าคุณบอกฉันก่อนว่าอยากให้ฉันไปส่ง ฉันก็คงจะออกมาเร็วกว่านี้

ประโยคนี้เป็นประโยคเงื่อนไขที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต ผู้พูดสามารถออกไปเร็วกว่านี้ได้แต่ก็ไม่ได้ทำ เป็นเงื่อนไขที่มีความเป็นไปได้ แต่เสียดายที่มันไม่ได้เกิดขึ้น เราจึงใช้หลักการของ past perfect tenseมาสร้างรูปประโยคเพราะมีการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตสองเหตุการณ์

ประโยคเงื่อนไขแบบที่สามนั้นจะใช้ past perfect (had + past participle) ในส่วนของประโยคเงื่อนไข หรือ if-clause และใช้กริยาช่วย (wouldcouldshould, etc.) + have + past participle ในส่วนของประโยคหลัก ใช้แสดงถึงเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในอดีต แต่ก็ไม่ได้เกิด ประโยคเงื่อนไขแบบที่สามมักจะเขียนกันผิดบ่อยๆ ดังตัวอย่าง

If you would have told me you needed a ride, I would have left earlier.
ถ้าคุณบอกฉันก่อนว่าอยากให้ฉันไปส่ง ฉันก็คงจะออกมาเร็วกว่านี้

สรุป : ประโยคเงื่อนไขแบบที่สามจะแสดงถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอดีตได้ก็ต่อเมื่อตรงตามเงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโครงสร้างประโยคจึงเป็น กริยาช่วย + have + past participle

ข้อยกเว้นและกรณีพิเศษเมื่อใช้ประโยคเงื่อนไข

เช่นเดียวกับหัวข้ออื่นๆ ในภาษาอังกฤษ ประโยคเงื่อนไขก็มีกฎเฉพาะสำหรับบางกรณีที่เป็นข้อยกเว้นเช่นเดียวกัน

ใช้รูปอนาคตกาล (simple future) ในประโยคเงื่อนไข (if-clause)

โดยปกติแล้ว simple future จะใช้ในส่วนของประโยคหลักเท่านั้น แต่ก็มีข้อยกเว้น หากว่าการกระทำในประโยคเงื่อนไขนั้นเกิดขึ้นหลังจากการกระทำในส่วนของประโยคหลัก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

If paracetamol will ease my headache, I will take a couple tonight.
ถ้าพาราเซตตามอลจะช่วยทำให้หายปวดหัวได้ คืนนี้ฉันจะกินสองเม็ด

การกระทำในประโยคเงื่อนไขด้านบน คือ การให้ยาพาราเซตตามอลบรรเทาอาการปวดหัว ซึ่งจะหายปวดหัวได้ก็หลังจากที่ผู้พูดกินยาในคืนนั้นเท่านั้น

Were to ในประโยคเงื่อนไข

คำกริยาวลี Were to บางครั้งจะใช้ในประโยคเงื่อนไขเมื่อผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้หรือไม่น่าจะเป็นไปได้เป็นสิ่งที่คิดไม่ถึงหรือแย่มากๆ ในกรณีนี้ คำว่า Were to จะใช้เน้นผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นไปได้

If I were to be sick, I would miss another day of work.
ถ้าฉันป่วย ฉันน่าจะต้องขาดงานไปอีกวัน

If she were to be late again, she would have to have a conference with the boss.
หากเธอมาสายอีกที เธอจะต้องเข้าประชุมกับเจ้านาย

If the rent were to have been a Baht more, they would not have been able to pay it.
ถ้าค่าเช่าเพิ่มขึ้นมาอีกสักบาท พวกเขาก็คงจ่ายไม่ไหว

สังเกตว่าคำว่า Were to จะใช้เน้นเพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เป็นสมมติฐานได้ทั้งในอดีต, ปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้

เครื่องหมายวรรคตอนประโยคเงื่อนไข

ถึงแม้ว่ารูปแบบของประโยคเงื่อนไขจะมีความซับซ้อน แต่การใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้องทำได้ง่ายมากๆ

ต่อไปนี้คือวิธีใช้เครื่องหมายวรรตตอนภาษาอังกฤษ

ใช้เครื่องหมายคอมมา (comma) หลังประโยคเงื่อนไข (if-clause) เมื่อประโยคเงื่อนไข (if-clause)อยู่ด้านหน้าของประโยคหลัก (main clause)

If I’d had time, I would have cleaned the house.
ถ้าฉันมีเวลา, ฉันจะทำความสะอาดบ้าน

แต่หากประโยคหลัก (main clause) อยู่หน้าประโยคเงื่อนไขแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอน

I would have cleaned the house if I’d had time.
ฉันจะทำความสะอาดบ้าน ถ้าฉันมีเวลา

อัพเดทล่าสุด: