ตัวอักษรญี่ปุ่นฮิรางานะ (Hiragana) คาตาคานะ (Katakana) 46 ตัว
ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นกับครูภาษาญี่ปุ่นจะได้เรียนตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน โดยทั้ง 3 แบบนี้เรียกว่า ตัวอักษรฮิรางานะ, ตัวอักษรคาตากานะและตัวอักษรคันจิ
ตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana)
อักษรฮิรางานะ หรืออักษรภาพ มีพยัญชนะ 10 แถว 46 ตัวอักษร เช่น あ い う え お
ในภาษาญี่ปุ่นมีสัญลักษณ์แทนเสียงหลักทั้งหมด 46 เสียง มีเสียงสระ 5 เสียง ได้แก่ あ(อะ), い(อิ), う(อุ), え(เอะ), お(โอะ) โดยปกติอักษรฮิรางานะจะใช้เขียนคำที่เป็นภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม
あ (a) อะ | い (i) อิ | う (u) อุ | え (e) เอะ | お (o) โอะ |
か (ka) คะ | き (ki) คิ | く (ku) คุ | け (ke) เคะ | こ (ko) โคะ |
が (ga) กะ | ぎ (gi) กิ | ぐ (gu) กุ | げ (ge) เกะ | ご (go) โกะ |
さ (sa) ซะ | し (shi) ชิ | す (su) ซุ | せ (se) เซะ | そ (so) โซะ |
ざ (za) ซะ | じ (ji) จิ | ず (zu) ซุ | ぜ (ze) เซะ | ぞ (zo) โซะ |
た (ta) ทะ | ち (chi) จิ | つ (tsu) ทสึ | て (te) เทะ | と (to) โทะ |
だ (da) ดะ | ぢ (ji) จิ | づ (zu) ซุ | で (de) เดะ | ど (do) โดะ |
な (na) นะ | に (ni) นิ | ぬ (nu) นุ | ね (ne) เนะ | の (no) โนะ |
は (ha) ฮะ | ひ (hi) ฮิ | ふ (fu) ฟุ | へ (he) เฮะ | ほ (ho) โฮะ |
ば (ba) บะ | び (bi) บิ | ぶ (bu) บุ | べ (be) เบะ | ぼ (bo) โบะ |
ぱ (pa) ปะ | ぴ (pi) ปิ | ぷ (pu) ปุ | ぺ (pe) เปะ | ぽ (po) โปะ |
ま (ma) มะ | み (mi) มิ | む (mu) มุ | め (me) เมะ | も (mo) โมะ |
や (ya) ยะ | ゆ (yu) ยุ | よ (yo) โยะ | ||
ら (ra) ระ | り (ri) ริ | る (ru) รุ | れ (re) เระ | ろ (ro) โระ |
わ (wa) วะ | を (wo) โอะ | ん (n/m) อึน |
ตัวอักษรฮิรางานะ เสียงขุ่น
ตัวอักษรฮิรางานะ เสียงขุ่น เรียกว่า だくおん (Daku on | ดะคุอน) คือการใส่เครื่องหมายลงบนอักษรฮิรางานะเพื่อสร้างพยัญชนะเสียงใหม่ ตัวอักษรฮิรางานะเสียงขุ่นมีทั้งหมด 25 ตัว ใช้เครื่องหมายที่ต่างกัน 2 แบบ คือ
- 濁点 (Dakuten) ゛
- 半濁点 (Handakuten) ゜
ต่อไปเรามาดูการเปลี่ยนเสียงด้วยเครื่องหมายเหล่านี้กัน
濁点 (だくてん | Dakuten | ดาคุเตง) คือเครื่องหมาย ขีดเล็กๆ 2 ขีด ที่ใส่บนมุมขวาบนของตัวอักษรฮิรางานะ ゛ เราอาจเรียกเครื่องหมายนี้ว่า てんてん (Ten ten | เตงเตง) ก็ได้ ทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะดังต่อไปนี้
เปลี่ยนเสียง H → B
เมื่อเติมเครื่องหมาย 濁点 (dakuten) ลงไป เสียง h จะกลายเป็นเสียง b
ば (ba) บะ | び (bi) บิ | ぶ (bu) บุ | べ (be) เบะ | ぼ (bo) โบะ |
เปลี่ยนเสียง K → G
เมื่อเพิ่มเครื่องหมาย 濁点 (dakuten) เข้าไป เสียง k จะกลายเป็นเสียง g
が (ga) กะ | ぎ (gi) กิ | ぐ (gu) กุ | げ (ge) เกะ | ご (go) โกะ |
เปลี่ยนเสียง S → Z
เมื่อเติมเครื่องหมาย 濁点 (dakuten) ลงไป เสียง s จะกลายเป็นเสียง Z (ยกเว้นอยู่หนึ่งตัวได้แก่ เสียง shi เมื่อเติม 濁点 (dakuten) เข้าไปจะกลายเป็นเสียง ji)
ざ (za) ซะ | じ (ji) จิ | ず (zu) ซุ | ぜ (ze) เซะ | ぞ (zo) โซะ |
เปลี่ยนเสียง T → D
เมื่อเติมเครื่องหมาย 濁点 (dakuten) เข้าไป เสียง t จะกลายเป็นเสียง d
だ (da) ดะ | ぢ (ji) จิ | づ (zu) ซุ | で (de) เดะ | ど (do) โดะ |
หมายเหตุ : ぢ และ づ แทบจะไม่ได้ใช้แทนเสียง ji และ zu เลย ดังนั้นให้ใช้ตัว じ และ ず แทน
半濁点 (Handakuten | ฮันดาคุเตง) ゜ คือ เครื่องหมายวงกลมเล็กๆ ไว้ที่มุมขวาบนของตัวอักษร ゜ เราอาจเรียกเครื่องหมายนี้ว่า まる (maru | มารุ) ก็ได้ ทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะดังต่อไปนี้
เปลี่ยนเสียง H → P
เมื่อเติมเครื่องหมาย 半濁点 (handakuten) เข้าไป เสียง h จะกลายเป็นเสียง p
ぱ (pa) ปะ | ぴ (pi) ปิ | ぷ (pu) ปุ | ぺ (pe) เปะ | ぽ (po) โปะ |
ตัวอักษรคาตาคานะ (Katakana)
ใช้เขียนทับคำศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น メッセージ (Messēji | ข้อความ) และ コンピューター (kompyu-ta- | คอมพิวเตอร์)
ตัวอักษรคาตากานะ (Katakana) นี้เป็นชุดตัวอักษรที่ใช้น้อยที่สุดในภาษาญี่ปุ่น
ตัวอักษรคาตากานะ (Katakana), ฮิรางานะ (Hiragana) และฟูริงานะ (Furigana) (ฮิรางานะที่มีขนาดเล็ก และเขียนถัดจากอักษรคันจิเพื่อแสดงให้เห็นว่าคันจิตัวนั้นอ่านว่าอย่างไร) เราเรียกรวมกันว่า “คานะ”
ア (a) อะ | イ (i) อิ | ウ (u) อุ | エ (e) เอะ | オ (o) โอะ |
カ (ka) คะ | キ (ki) คิ | ク (ku) คุ | ケ (ke) เคะ | コ (ko) โคะ |
ガ (ga) กะ | ギ (gi) กิ | グ (gu) กุ | ゲ (ge) เกะ | ゴ (go) โกะ |
サ (sa) ซะ | シ (shi) ชิ | ス (su) ซุ | セ (se) เซะ | ソ (so) โซะ |
ザ (za) ซะ | ジ (ji) จิ | ズ (zu) ซุ | ゼ (ze) เซะ | ゾ (zo) โซะ |
タ (ta) ทะ | チ (chi) จิ | ツ (tsu) ทสึ | テ (te) เทะ | ト (to) โทะ |
ダ (da) ดะ | ヂ (ji) จิ | ヅ (zu) ซุ | デ (de) เดะ | ド (do) โดะ |
ナ (na) นะ | ニ (ni) นิ | ヌ (nu) นุ | ネ (ne) เนะ | ノ (no) โนะ |
ハ (ha) ฮะ | ヒ (hi) ฮิ | フ (fu) ฮุ | ヘ (he) เฮะ | ホ (ho) โฮะ |
バ (ba) บะ | ビ (bi) บิ | ブ (bu) บุ | ベ (be) เบะ | ボ (bo) โบะ |
パ (pa) ปะ | ピ (pi) ปิ | プ (pu) ปุ | ペ (pe) เปะ | ポ (po) โปะ |
マ (ma) มะ | ミ (mi) มิ | ム (mu) มุ | メ (me) เมะ | モ (mo) โมะ |
ヤ (ya) ยะ | ユ (yu) ยุ | ヨ (yo) โยะ | ||
ラ (ra) ระ | リ (ri) ริ | ル (ru) รุ | レ (re) เระ | ロ (ro) โระ |
ワ (wa) วะ | ヲ (wo) โอ๊ะ | ン (n/m) อึน |
ตัวอักษรคาตาคานะ เสียงขุ่น
ตัวอักษรคาตาคานะ เสียงขุ่น คล้ายกับตัวอักษรฮิรางานะเสียงขุ่น คือ การนำเครื่องหมาย 濁点 (Dakuten) และ 半濁点 (Handakuten) ใส่ลงบนมุมขวาด้านบนของตัวอักษรคาตาคานะ มีการเปลี่ยนเสียงเหมือนตัวอักษรฮิรางานะทุกอย่าง แค่เปลี่ยนจากอักษรฮิรางานะเป็นคาตาคานะเท่านั้น
ด้านล่างเป็นคาตาคานะที่ถูกเปลี่ยนเสียงโดยการใส่เครื่องหมาย 濁点 (Dakuten) ゛20 ตัว
ガ (ga) กะ | ギ (gi) กิ | グ (gu) กุ | ゲ (ge) เกะ | ゴ (go) โกะ |
ザ (za) ซะ | ジ (ji) จิ | ズ (zu) ซุ | ゼ (ze) เซะ | ゾ (zo) โซะ |
ダ (da) ดะ | ヂ (ji) จิ | ヅ (zu) ซุ | デ (de) เดะ | ド (do) โดะ |
バ (ba) บะ | ビ (bi) บิ | ブ (bu) บุ | ベ (be) เบะ | ボ (bo) โบะ |
ตารางด้านล่างเป็นตัวอักษรคาตาคานะที่เปลี่ยนเสียงโดยการใส่เครื่องหมาย 半濁点 (Handakuten) ゜5 ตัว
パ (pa) ปะ | ピ (pi) ปิ | プ (pu) ปุ | ペ (pe) เปะ | ポ (po) โปะ |
ตัวอักษรคันจิ
ตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนคำที่มาจากภาษาจีน แต่คนญี่ปุ่นจะนำมาใช้ควบคู่กับตัวอักษรฮิรางานะ หรือ คาตาคานะ
ตัวอักษรคันจิจะแตกต่างจากอักษรคาตากานะและฮิรางานะ เพราะอักษรคันจิไม่ใช่ระบบที่นำตัวอักขระหลายตัวมาประกอบกันเพื่อสร้างเสียงหรือคำพูด ตัวอักษรคันจิเพียงตัวเดียวก็สามารถเป็นคำหนึ่งคำได้ ตัวอย่างตัวอักษรคันจิ เช่น 日本語 (Nihongo | ภาษาญี่ปุ่น)
ข้อควรรู้ : เนื่องจากประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนของตัวอักษรคันจิ ทำให้วิธีการอ่านคันจิโดยทั่วไปจะมีอยู่อย่างน้อยสองวิธีคือ
- อ่านแบบองโยมิ (onyomi l การอ่านแบบภาษาจีนดั้งเดิม)
- อ่านแบบคุนโยมิ (kunyomi l อ่านแบบพ้องเสียงกับคำศัพท์ญี่ปุ่นที่มีอยู่เดิม)
ยกตัวอย่างเช่น คำว่า 父 อ่านว่า “fu” ซึ่งเป็นการอ่านแบบองโยมิ และอ่านว่า “chichi” หากอ่านแบบคุนโยมิ เป็นต้น
ตัวอักษรโรมันจิ
โรมันจิไม่ใช่อักษรญี่ปุ่น แต่เป็นอักษรละตินที่ใช้เทียนเสียงภาษาญี่ปุ่นเพื่อช่วยให้เราเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ง่าย
เมื่อรู้วิธีอ่านตัวอักษรญี่ปุ่นแล้ว การอ่านภาษาญี่ปุ่นจึงทำได้ง่ายขึ้น ให้เริ่มอ่านคำญี่ปุ่นง่ายๆ ก่อน เช่น
- วิธีอ่านตัวเลขภาษาญี่ปุ่น
- การอ่านคำนามภาษาญี่ปุ่นฉบับเริ่มต้น
- วิธีเรียกสมาชิกในครอบครัวภาษาญี่ปุ่น
- การเรียกตำแหน่งอาชีพภาษาญี่ปุ่น
- วันทั้ง 7 วันภาษาญี่ปุ่นในหนึ่งสัปดาห์
- ทักทายภาษาญี่ปุ่น สวัสดีแบบญี่ปุ่น
แน่นอนว่ายังมีบทความให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นอีกมากมายบนเว็บไซต์ของเรา เมื่ออ่านบทความแล้ว อย่าลืมทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นในหัวข้อที่ได้เรียนไปแล้ว เพื่อดูว่าเรามีความเข้าใจในหัวข้อนั้นๆ มากน้อยแค่ไหนกันด้วยนะครับ