20 คำคมยอดฮิตจากหนังในภาษาอังกฤษ

เวลาที่เราดูภาพยนต์ต่างประเทศ หรือแม้แต่ในวงสนทนาทั่วไป เราอาจจะเคยได้ยินประโยคที่เราไม่เข้าใจว่ามันมาได้อย่างไร แต่คนอื่นๆกลับเข้าใจซะงั้น ไม่แน่นะคะ ประโยคนั้นอาจจะเป็นคำคมจากในภาพยนต์ยอดนิยมก็เป็นได้ เพราะฝรั่งเองก็ชอบหยิบยกคำพูดยอดฮิตของตัวละครในภาพยนต์ดังๆในอดีตมาใช้กันบ่อยๆ สำหรับคนที่เคยดูภาพยนต์เหล่านั้นก็คงเข้าใจว่าคำคมนั้นสื่อถึงอะไร และใช้ในสถานการณ์ไหน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยดู แถมซ้ำยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็อาจจะงงเป็นไก่ตาแตกกันได้

วันนี้เรามี 20 คำคมสุดเจ๋งจากหนังฝรั่งยอดอิตตลอดกาลที่ได้รับคัดเลือกโดย American Film Institute พร้อมทั้งการนำไปใช้มาฝากกันค่ะ

Say hello to my little friend!

ประโยคของ Tony Montana จากภาพยนต์เรื่อง Scarface (1983) ภาพยนต์เกี่ยวกับอาชญากรรม ยาเสพย์ติด และมาเฟีย

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณต้องการจะเซอร์ไพรซ์เพื่อนของคุณ โดยการโชว์บางสิ่งที่เพื่อนคุณไม่ได้คาดหมายไว้
(ดูบน YouTube)

You had me at hello.

ประโยคของ Dorothy Boyd ในภาพยนต์เรื่อง Jerry Maguire (1996)

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ใครบางคนพยายามโน้มน้าวใจคุณ แต่คุณอยากให้เขาหยุดโน้มน้าวคุณเพราะคุณยินยอมตกลงกับสิ่งที่เขาโน้มน้าวคุณตั้งแต่เริ่มการสนทนาแล้ว นอกจากนั้นประโยคนี้ยังเป็นที่นิยมมากอีกด้วย เมื่อคุณต้องการบอกคนที่คุณชอบว่าคุณชอบเขาตั้งแต่แรกพบแล้ว
(ดูบน YouTube)

After all, tomorrow is another day!

ประโยคของสการ์เล้ต โอฮาร่า จาก นิยายสงครามกลางเมืองของอเมริกาเรื่อง Gone With The Wind (1939)

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: หากมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น ไม่ว่าจะกับคุณ เพื่อน หรือคนที่รู้จัก และคุณต้องการพูดว่า ไม่เป็น ชีวิตยังมีพรุ่งนี้
(ดูบน YouTube)

Show me the money!

ประโยคของ Rod Tidwell ในภาพยนต์เรื่อง Jerry Maguire (1996) เรื่องราวของเจอร์รี่ แมกไกวร์ผู้ทำอาชีพเป็นตัวแทนนักกีฬาที่ทำทุกวิถีทางที่จะได้เซ็นสัญญากับลูกค้าโดยได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณต้องการทราบว่าคุณจะได้เงินค่าตอบแทนเท่าไหร่กันแน่ หรือต้องการเห็นหลักฐานอะไรก็ตามที่จะทำให้คุณแน่ใจว่าคุณจะได้รับค่าตอบแทน และค่าตอบแทนนี้ควรจะคุ้มค่ากับงานที่คุณทำ
(ดูบน YouTube)

Frankly, my dear, I don’t give a damn.

เอาตรงๆเลยนะ ที่รัก ฉันไม่สนใจอีกต่อไปแล้วล่ะ

อีกประโยคหนึ่งจาก Gone With The Wind (1939) เป็นประโยคของพระเอกเร็ต บัตเลอร์

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ประโยคนี้ใช้พูดเมื่อคนที่คุณสนิททำให้คุณผิดหวัง และคุณบอกเธอว่าคุณไม่สนใจไม่ว่าเธอจะทำอะไรอีกต่อไปแล้ว
(ดูบน YouTube)

Houston, we have a problem.

ประโยคของ Jim Lovell ในภาพยนต์เรื่อง Apollo 13 (1995) จากเรื่องจริงของกลุ่มนักบินอวกาศบนยานอพอลโล่13 ที่ต้องหาทางกลับสู่โลกให้ได้ หลังจากยานได้เกิดการเสียหายอย่างรุนแรงขณะเดินทางไปดวงจันทร์

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณต้องการบอกเพื่อนหรือคนที่คุณรู้จักว่า พวกคุณกำลังมีปัญหาซะแล้ว
(ดูบน YouTube)

Elementary, my dear Watson.

ประโยคของ Sherlock Holmes ในภาพยนต์เรื่อง The Adventures of Sherlock Holmes (1939)

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ประโยคนี้ใช้พูดก่อนที่คุณจะอธิบายสิ่งที่ยากๆ หรือซับซ้อน และแสดงให้ผู้ที่ฟังคุณเห็นว่าคุณเข้าใจเรื่องที่คุณกำลังจะอธิบายนั้นอย่างดี
(ดูบน YouTube)

I’ll be back.

ประโยคของ Arnold Schwarzenegger ในภาพยนต์เรื่อง The Terminator (1984) ซีรี่ย์ภาพยนต์ไซไฟยอดนิยม เกี่ยวกับโลกอนาคตตที่ถูกปกครองโดยคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ใช้พูดในตอนจบของการสนทนาที่ยังไม่เสร็จสิ้น และคุณต้องการกลับมาคุยเรื่องนี้อีกครั้ง หรือสามารถใช้เป็นประโยคทั่วไปได้ เมื่อคุณต้องการบอกใครสักคนว่า เดี๋ยวคุณจะกลับมา
(ดูบน YouTube)

Badges? I don’t have to show you any stinking badges!

ประโยคของGold Hat จากหนังเรื่อง The Treasure of the Sierra Madre (1948) เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักเร่ร่อนทองสามคน

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อมีคนขอดูบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ของคุณ คุณต้องการล้อเล่นกับเขาว่าคุณไม่อยากให้ดู คุณสามารถพูดประโยคนี้ได้ (ใช้ประโยคนี้เล่นๆกับเพื่อนหรือคนที่สนิทเท่านั้น เพราะเป็นประโยคที่ค่อนข้างแรง และหยาบคาย)
(ดูบน YouTube)

Mama always said life was like a box of chocolates. You never know what you’re gonna get.

ประโยคของ Forrest Gump ในภาพยนต์เรื่อง Forrest Gump (1994) ภาพยนต์โรแมนติกคอมเมดี้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของชายหนุ่มที่มีความฉลาดต่ำกว่าเกณฑ์ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ได้แฝงข้อคิดดีๆไว้มากมายที่ทำให้คนยังพูดถึงในปัจจุบัน

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: คุณสามารถใช้ประโยคนี้เพื่อสื่อว่า คุณไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของคุณบาง เพราะชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง
(ดูบน YouTube)

I’m going to make him an offer he can’t refuse.

ประโยคของ Vito Corleone จากภาพยนต์เรื่อง The Godfather (1972) ซีรี่ย์มาเฟียอิตาลีอันโด่งดัง เป็นที่กล่าวถึงในภาพยนต์หลายๆเรื่อง

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณมีข้อเสนอที่คุณเตรียมไว้แล้วและคุณมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นว่าคนที่คุณกำลังต่อรองด้วยจะรับข้อเสนอของคุณแน่นอน ซึ่งข้อเสนอนี้อาจจะเป็นข้อเสนอที่ดีหรือเป็นการข่มขู่บุคคลนั้นก็ได้
(ดูบน YouTube)

There’s no crying in baseball!

ประโยคของ Jimmy Dugan ในภาพยนต์เรื่อง A League of Their Own (1992) ภาพยนต์ดราม่าคอมเมดี้ เกี่ยวกับกลุ่มนักเบสบอลสาวมืออาชีพของอเมริกา

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณต้องการให้กำลังเพื่อนของคุณ ต้องการให้เพื่อนหยุดความรู้สึกแย่ๆ และเดินหน้าต่อไป
(ดูบน YouTube)

Keep your friends close, but your enemies closer.

ประโยคของ Vito Corleone จากภาพยนต์เรื่อง The Godfather 2 (1974) ภาคสองของภาพยนต์เรื่องนี้ก็ยังเป็นที่นิยมไม่ต่างจากภาคแรก

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ประโยคนี้เป็นคำแนะนำว่า คุณควรรู้จักศัตรูของคุณให้ดี เพื่อที่จะรู้ว่าศัตรูมีแผน หรือกำลังวางแผนอะไรอยู่เสมอ
(ดูบน YouTube)

You can’t handle the truth!

ประโยคของ Col. Nathan R. Jessup ในภาพยนต์เรื่อง A Few Good Men (1992) เป็นเรื่องเกี่ยวกับพลทหารสองนายที่ถูกลงโทษจากการทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาทั้งที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิด

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณไม่ต้องการสารภาพกับเพื่อน และคุณเชื่อว่าคำตอบหรือความจริงนั้นอาจจะทำร้ายหรือทำให้เพื่อนของคุณผิดหวัง (และสามารถใช้ในกรณีที่คุณแค่ไม่อยากตอบคำถาม ไม่อยากพูดถึงเรื่องนั้นๆได้อีกด้วย)
(ดูบน YouTube)

May the Force be with you.

ประโยคของ Han Solo จากภาพยนต์เรื่อง Star Wars (1977) ภาพยนต์แฟนตาซีเกี่ยวกับโลกในอนาคตและการต่อสู้ระหว่างคนดีกับคนเลว

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: ใช้เมื่อคุณต้องการให้กำลังใจเพื่อนของคุณ มีความหมายเหมือนกับวลีของไทยว่า สู้ๆนะ
(ดูบน YouTube)

I love the smell of napalm in the morning.

ประโยคของ Lt. Col. Bill Kilgore จากภาพยนต์ Apocalypse Now (1979) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภารกิจลับในสงคราวเวียดนาม

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: พูดก่อนการต่อสู้/เผชิญหน้ากับปัญหา เมื่อคุณต้องการจะสื่อว่าคุณไม่กลัวที่จะสู้ ใช้ในสถานการณ์ที่การต่อสู้นั้นเป็นการต่อสู้ที่จริงจัง หรือในยามที่คุณเผชิญหน้ากับปัญหาที่ทำให้คุณต้องสู้อย่างที่สุด
(ดูบน YouTube)

Go ahead, make my day.

ประโยคของ Harry Callahan จากภาพยนต์เรื่อง Sudden Impact (1983) เป็นเรื่องราวของนายตำรวจจากซานฟรานซิสโกผู้ที่ลงโทษคนชั่วอย่างเด็ดขาด

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อเพื่อนของคุณท้าทายที่จะทำอะไรสักอย่าง แต่คุณมั่นใจว่าผลลัพธ์มันจะออกมาไม่เป็นอย่างที่เพื่อนคุณคิดไว้โดยที่คุณรู้อยู่แล้วว่ามันจะออกมาเป็นอย่างไร คุณจึงพูดแนวนี้เพื่อท้าทายให้เขาทำ และคุณจะมาขำหรือสะใจกับผลลัพธ์หลังจากนั้นนั่นเอง
(ดูบน YouTube)

I’m the king of the world!

ประโยคของ Jack Dawson ในภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ชื่อดัง Titanic (1997) เป็นภาพยนต์เกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาวต่างชนชั้นบนเรือหรูที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรม

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณประสบความสำเร็จในบางสิ่ง คุณรู้สึกภูมิใจ และรู้สึกว่าคุณมีอำนาจที่จะทำสิ่งที่คุณต้องการ เหมือนคุณเป็นราชาของโลกนี้
(ดูบน YouTube)

A martini. Shaken, not stirred.

ประโยคของ James Bond ในซีรี่ย์ภาพยนต์เรื่องที่ 3 ของ James Bond series โดยมีชื่อเรื่อง Goldfinger (1964) เรื่องของสายลับผู้เก่งกาจนามว่า เจมส์ บอนด์

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: มาตินี่เป็นเครื่องดื่มที่เจมส์ บอนด์ดื่มอยู่ตลอดเวลา ผู้คนจึงนำมาล้อเล่นกันโดยใช้ประโยคของเจมส์ บอนด์สั่งมาตินี่ เพื่อล้อเลียนว่าเขานั้นเจ๋งเหมือนสายลับเจมส์ บอนด์นั่นเอง
(ดูบน YouTube)

I feel the need — the need for speed!

ฉันรู้สึกถึงมันได้ ความต้องการของการซิ่ง!

ประโยคของ Lt. Pete “Maverick” Mitchell และ Lt. Nick “Goose” Bradshaw ในภาพยนต์แอคชั่นดราม่าของอเมริกาเรื่อง Top Gun (1986) เรื่องราวของนักบินกองทัพเรือสองนายที่ได้โอกาสไปฝึกที่สถาบันฝึกการใช้อาวุธของนักบินขับไล่กองทัพเรือ ที่มิราม่าในซานดิเอโก้

ตัวอย่างสถานการณ์ในการใช้: เมื่อคุณต้องการทำเรื่องหลุดโลก ระห่ำ หรือผาดโผน หรือคุณอาจจะใช้คำคมนี้ทำให้เพื่อนของคุณหัวเราะก็ได้ เช่น เมื่อคุณต้องพูดประโยคนี้กับเพื่อนของคุณขณะที่คุณขี่ฮอนด้าเมท 100 รุ่นเก่า ที่แน่นอนว่ามันไม่มีทางขี่ได้เร็วเหมือนบิ้กไบค์แน่ๆ
(ดูบน YouTube)

นอกจากนี้ยังมีคำคมอีกมากมายที่ถูกพูดถึงบ่อยๆในปัจจุบัน แม้แต่ภาพยนต์ในปัจจุบันก็ยังหยิบยกเอาคำคมจากภาพยนต์ในอดีตมาใช้เพื่อสร้างสีสันและความน่าสนใจให้แก่คนดูและหนังอีกด้วย การดูหนังฝรั่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่เราควรรู้ไวยากรณ์ หรือ grammar ในภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษแต่ละคนมีสไตล์ที่ต่างกันไป เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกตามหลักไวยากรณ์ ผู้เรียนพิเศษควรเลือกเรียนกับครูสอนพิเศษที่เหมาะกับตนเอง โดยสังเกตว่าตนเองมีสไตล์การเรียนอย่างไร และครูสอนพิเศษท่านไหนมีวิธีการสอนที่เหมาะสมกับคุณได้บ้าง

อัพเดทล่าสุด: