บ้านภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า 家 (ie), 内 (uchi) คันจิ ฮิรางานะ แม่บ้านภาษาญี่ปุ่น
คำว่า “บ้าน” ภาษาญี่ปุ่นจะใช้คำว่า
家
いえ
(ie)
อิเอะ
บ้าน
คำนี้จะแปลว่า บ้านเป็นหลังๆ สิ่งก่อสร้างที่อยู่อาศัย เปรียบกับคำภาษาอังกฤษว่า house ที่แปลว่าบ้านภาษาอังกฤษ คำว่า いえ (ie) นอกจากจะสื่อความหมายถึงตัวบ้านที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังมีความหมายรวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบบ้านได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น
- 彼は家を修理します。
かれはいえをしゅうりします。
(Kare wa ie o shūri shimasu.)
เขาซ่อมบ้าน - 私の家。
わたしのいえ。
(watashi no ie)
บ้านของฉัน - 私は家にいます。
(Watashi wa ie ni imasu.)
ฉันอยู่บ้าน - あなたを家まで連れて帰ります。
(Anata o ie made tsurete kaerimasu.)
ฉันจะไปส่งที่บ้าน, ฉันจะพาคุณกลับไปส่งที่บ้าน - 学生は家に帰ります。
(Gakusei wa ie ni kaerimasu.)
นักเรียนกำลังกลับบ้าน
คำว่า 学生 (Gakusei) แปลว่า “นักเรียน” ภาษาญี่ปุ่น ประโยคด้านบนใช้ในความหมายว่านักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้านที่เป็นที่อยู่อาศัยของเขา โดยบ้านอาจจะเป็นบ้านเป็นหลัง หรือเป็นห้องชุดแบบอพาร์เม้นท์ก็ได้
แต่หากต้องการพูดถึงบ้านในความหมายที่เป็นนามธรรม ที่ไม่ใช่บ้านเป็นหลังๆ แต่กล่าวถึงที่อยู่อาศัย และสามารถใช้เพื่อแปลว่าครอบครัวภาษาญี่ปุ่นได้ เราจะใช้คำว่า
内
うち
(uchi)
อุจิ
บ้าน, ที่อยู่
ยกตัวอย่างเช่น
- 明日は家へ帰ります。
あしたはうちへかえります。
ashita wa uchi e kaerimasu
พรุ่งนี้ฉันจะกลับบ้าน (กลับไปหาครอบครัว)
ประโยคดังกล่าวนี้โดยทั่วไปผู้พูดจะหมายถึง “บ้านของตัวเอง” แต่จริงๆ แล้วจะหมายถึงบ้านของบุคคลที่สอง หรือสามก็ได้ หากผู้พูดกล่าวในฐานะมุมมองของบุคคลนั้นๆ
คำศัพท์บ้านภาษาญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอพาร์เม้นต์ アパート (Apāto) หรือแมนชั่น เรียกว่า マンション (Manshon)
บ้านแบบพื้นเมืองญี่ปุ่นเรียกว่า 民家 (Minka) ที่มีพื้นเสื่อทาทามิ ประตูบานเลื่อน และระเบียงไม้เอนกาวะ ซึ่งอาจจะทำให้เรานึกถึง 平房 (píng fáng) ซึ่งแปลว่าบ้านภาษาจีน โดยมีลักษณะเป็นบ้านพื้นเมืองแบบจีนที่มีลักษณะคล้ายกันกับ 民家 (Minka)
ส่วนแบบพื้นเมืองในชนบท เรียกว่า 古民家 (Ko minka) แปลตรงตัวว่า “บ้านพื้นเมืองเก่า” มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยไม้ ดินเหนียว ฟาง และไม้ไผ่ มีกำแพงต่ำ ยกพื้นสูงและเพดานสูง ผู้อาศัยมักเป็นชาวไร่ชาวนา บ้านเช่นนี้จึงอาจเรียกว่า บ้านไร่ หรือ บ้านสวน ภาษาญี่ปุ่นก็ได้
นักเรียนภาษาญี่ปุ่นอาจจะเรียนคำศัพท์เกี่ยวกับโรงเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นคำแรก แต่ก็ควรเรียนคำศัพท์เกี่ยวกับบ้านเหล่านี้ด้วย เนื่องจากคำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นที่จะได้ใช้บ่อยในการเรียนภาษาญี่ปุ่น และประโยคภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
คันจิ | ฮิรางานะ/ คาตากานะ | โรมาจิ | ความหมาย |
---|---|---|---|
家 | いえ | ie | บ้าน |
部屋 | へや | heya | ห้อง |
寝室 | しんしつ | shin shitsu | ห้องนอน |
ベッドルーム | beddo ru-mu | ห้องนอน (ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) | |
ダイニングルーム | dainingu ru-mu | ห้องรับประทานอาหาร | |
居間 | いま | ima | ห้องนั่งเล่น (แบบตะวันตก) |
リビングルーム | ribingu ru-mu | ห้องนั่งเล่น (ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) | |
台所 | だいどころ | dai dokoro | ห้องครัว |
キッチン | kicchin | ห้องครัว (ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) | |
台所用品 | だいどころようひん | dai dokoro youhin | เครื่องครัว |
車庫 | しゃこ | shako | โรงรถ |
戸棚 | とだな | todana | หิ้ง, ตู้ขนาดเล็กไว้ใส่เสื้อผ้าหรืออาหาร |
蛇口 | じゃぐち | jaguchi | ก๊อกน้ำ |
流し | ながし | nagashi | อ่างล้างจาน |
洗面台 | せんめんだい | senmen dai | อ่างล้างหน้า |
風呂場 | ふろば | furoba | ห้องอาบน้ำ |
バスルーム | basu ru-mu | ห้องอาบน้ำ (ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) | |
お手洗い | おてあらい | otearai | ห้องน้ำ, ห้องส้วม , สุขา |
トイレ | toire | ห้องน้ำ, ห้องส้วม, สุขา (ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) | |
玄関 | げんかん | genkan | ทางเข้า, โถงทางเดิน, บริเวณหน้าประตูบ้าน (เข้าประตูมาแล้ว แต่ยังไม่ขึ้นบ้าน |
庭 | にわ | niwa | สวน, ลาน |
ベランダ | beranda | ระเบียง | |
廊下 | ろうか | rouka | ทางเดินในอาคาร, ระเบียง |
階段 | かいだん | kaidan | บันได |
床 | ゆか | yuka | พื้น |
畳 | たたみ | tatami | เสื่อตาตามิ/ เสื่อปูพื้นแบบญี่ปุ่น |
壁 | かべ | kabe | กำแพง |
カレンダー | karenda- | ปฏิทิน | |
ドア | doa | ประตู | |
鍵 | かぎ | kagi | กุญแจ |
窓 | まど | mado | หน้าต่าง |
カーテン | ka-ten | ผ้าม่าน | |
天井 | てんじょう | tenjou | เพดาน |
家具 | かぐ | kagu | เครื่องเรือน, เฟอร์นิเจอร์ |
押入れ | おしいれ | oshiire | ตู้เก็บของติดข้างฝา (ที่เก็บที่นอน) |
箪笥 | たんす | tansu | ตู้เสื้อผ้า, ตู้ลิ้นชัก |
鏡 | かがみ | kagami | กระจก |
テーブル | te-buru | โต๊ะ | |
椅子 | いす | isu | เก้าอี้ |
ソファー | sofa- | โซฟา | |
机 | つくえ | tsukue | โต๊ะ |
絨毯 / 絨緞 | じゅうたん | jyuutan | พรม |
本棚 | ほんだな | hondana | ชั้นวางหนังสือ |
スタンド | sutando | โคมไฟตั้งโต๊ะ | |
ベッド | beddo | เตียง, ที่นอน | |
布団 | ふとん | futon | ที่นอนผ้านวมแบบญี่ปุ่น |
シーツ | shi-tsu | ผ้าปูที่นอน | |
毛布 | もうふ | moufu | ผ้าห่ม |
枕 | まくら | makura | หมอน |
傘立て | かさたて | kasatate | ที่วางร่ม |
冷蔵庫 | れいぞうこ | reizouko | ตู้เย็น |
冷凍庫 | れいとうこ | reitouko | ตู้แช่แข็ง |
洗濯機 | せんたくき | sentaku ki | เครื่องซักผ้า |
乾燥機 | かんそうき | kansou ki | เครื่องอบผ้า |
洗濯挟み | せんたくばさみ | sentaku basami | ไม้หนีบผ้า |
ハンガー | hanga- | ไม้แขวนเสื้อ | |
物干し竿 | ものほしざお | mono hoshi zao | ราวตากผ้า (โดยใช้ท่อนไม้ไผ่หรือท่อสแตนเลส) |
電気掃除機 | でんきそうじき | denki souji ki | เครื่องดูดฝุ่น |
皿洗い機 | さらあらいき | sara arai ki | เครื่องล้างจาน |
テレビ | terebi | โทรทัศน์ | |
ラジオ | rajio | วิทยุ | |
ステレオ | sutereo | ระบบเสียงสเตอริโอ | |
ビデオ | bideo | เครื่องเล่นวิดีโอ | |
アイロン | airon | เตารีดไฟฟ้า | |
アイロン台 | アイロンだい | airon dai | ที่รองรีด |
エアコン | eakon | เครื่องปรับอากาศ | |
扇風機 | せんぷうき | senpuu ki | พัดลมไฟฟ้า |
電気 | でんき | denki | ไฟฟ้า / หลอดไฟ |
電灯 | でんとう | dentou | โคมไฟ, หลอดไฟ |
電子レンジ | でんしレンジ | denshi renji | เตาไมโครเวฟ |
オーブン | o-bun | เตาอบ | |
ストーブ | suto-bu | เตา, เครื่องทำความร้อน | |
お皿 | おさら | osara | จาน |
箸 | はし | hashi | ตะเกียบ |
コップ | koppu | แก้วน้ำ | |
カップ | kappu | ถ้วย | |
スプーン | supu-n | ช้อน | |
フォーク | fo-ku | ส้อม | |
ナイフ | naifu | มีด | |
コンピューター | konpyu-ta- | คอมพิวเตอร์ | |
パソコン | pasokon | คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล | |
箒 | ほうき | houki | ไม้กวาด |
塵取り | ちりとり | chiri tori | ที่โกยผง, ที่โกยขยะ |
ごみ箱 | ごみばこ | gomi bako | ถังขยะ, กล่องขยะ |
アパート | apa-to | อพาร์ตเมนท์ | |
和室 | わしつ | washitsu | ห้องแบบญี่ปุ่น |
障子 | しょうじ | shouji | ประตูเลื่อนทำจากกระดาษ ขึงบนโครงไม้ |
縁側 | えんがわ | engawa | เฉลียงไม้กระดานของบ้านแบบญี่ปุ่น |
土間 | どま | doma | ห้องที่ไม่ได้ปูพื้น ยังเป็นพื้นอยู่ |
蔵 / 倉 / 庫 | くら | kura | โกดังเก็บสินค้า |
นอกจากนี้เรามักจะใช้คำเหล่านี้ในสถานการณ์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น การแนะนำตัวภาษาญี่ปุ่น หรือแม้แต่การสัมภาษณ์งานภาษาญี่ปุ่นที่อาจจะต้องกล่าวถึงที่อยู่ภาษาญี่ปุ่นในการสัมภาษณ์งาน
ตัวอย่าง :
- ク ロ ッ ク は 寝 室 に あ る
(Kurokku wa shinshitsu ni aru.)
นาฬิกาอยู่ในห้องนอน - 私 は 昨 日 、 台 所 の 掃 除
(Watashi wa kinō, daidokoro no sōji.)
ฉันทำความสะอาดห้องครัวไปแล้วเมื่อวานนี้ - 私 の電 灯が 動 作 し な い
(Watashi no ranpu ga dōsa shinai.)
โคมไฟของฉันเสีย
เยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่น
ต่อไปนี้เป็นสำนวนทั่วไปของชาวญี่ปุ่นที่มักใช้กันเมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านของใครสักคน
สิ่งที่ควรพูดเมื่อไปถึงบ้าน
สำหรับแขกผู้มาเยือน
こんにちは。
(Konnichiwa.)
สวัสดี
ごめんください。
(Gomen kudasai.)
ขออนุญาต, ขอโทษที่มารบกวน
สำหรับเจ้าของบ้าน
いらっしゃい。
(Irasshai.)
ยินดีต้อนรับ
いらっしゃいませ。
(Irassaimase.)
ยินดีต้อนรับครับ (เป็นทางการมากขึ้น)
よくいらっしゃいました。
(Yoku irasshai mashita.)
ขอบคุณที่มาหา, ดีใจที่ได้เจอคุณ
ようこそ。
(Youkoso.)
ยินดีต้อนรับ, ดีใจที่ได้เจอกัน
แม่บ้านภาษาญี่ปุ่น
คำว่าแม่บ้านภาษาญี่ปุ่น คือ
主婦
Shufu
แม่บ้าน
คำนี้หมายถึงภรรยาที่ไม่ได้ทำงานนอกบ้าน แต่ทำหน้าที่หลัก ๆ คือ รับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้านทั้งหมด รวมถึงการดูแลเลี้ยงดูลูก
ส่วนคำว่า “แม่บ้าน” ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าอาชีพแม่บ้านรับจ้างรับเงินเดือน การเรียกอาชีพภาษาญี่ปุ่นสำหรับอาชีพแม่บ้านมีหลายแบบ เช่น
- 家政婦 (Kasei-fu) — แม่บ้าน
- ハウスキーパー (Hausukīpā) — แม่บ้าน (คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Housekeeper)
- メイドさん (Meido-san) — เมด (คำทับศัพท์อาชีพภาษาอังกฤษว่า Maid)
- 掃除おばさん (Sōji obasan) — แม่บ้านทำความสะอาด
- 掃除人 (Sōji hito) — คนทำความสะอาด
- 掃除さん (Sōji-san) — คนทำความสะอาด
คำว่าภรรยาภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า
家内
Kanai
ภรรยา
คำนี้เป็นคำเรียกภรรยาแบบถ่อมตัวอย่างสุภาพ ใช้เวลากล่าวถึงภรรยากับเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย ส่วนคำเรียกภรรยาในชีวิตประจำวัน ยังมีอีกหลายคำ
- 嫁 (Yome)
- 妻 (tsuma)
- 奥さん (okusan)
- おかみさん (okami-san)
แต่ถึงจะมีคำเรียกภรรยาหลายคำขนาดนี้แล้ว คนญี่ปุ่นหลายคนก็ยังรู้สึกว่าไม่ใช่คำที่เหมาะสม สังคมญี่ปุ่นนั้นเมื่อผู้หญิงแต่งงานแล้วส่วนใหญ่จะลาออกจากงานเพื่อทำหน้าที่ภรรยาอย่างเต็มตัว เรียกกันว่า 専業主婦 (sengyou shufu)
คำเรียกขานส่วนมากก็แสดงสภาพสังคมแบบนั้น สังเกตุได้จากคำแปลตรงตัวของคำต่อไปนี้ เช่น
- สามี(ของตัวเอง) 主人 (shujin) — แปลตรงตัวว่า “เจ้านาย”
- สามี(ของ คนอื่น) ご主人 (goshujin) — แปลตรงตัวว่า “เจ้านาย”
หลายคนอาจจะคุ้นๆ ว่าเป็นคำเดียวกับที่พนักงานในร้าน メイドカフェ (meido kafe) — Maid Café ใช้เรียกจะเรียกลูกค้าเวลาเราสั่งกาแฟภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง
- 家内 (kanai) — แปลตรงตัวจากคันจิว่า “ในบ้าน” (หมายถึง คนที่อยู่ในบ้าน)
- 奥さん (okusan) — ตัวคันจิแปลว่า ข้างใน (หมายถึง คนที่อยู่ข้างในของบ้าน)
ปัจจุบันผู้หญิงเริ่มมีบทบาทนอกบ้านมากขึ้น แม้จะแต่งงานแล้วก็ยังคงทำงานอยู่ ไม่ได้เป็นแม่บ้านแบบเมื่อก่อนอีกแล้ว คำเรียกขานเหล่านั้นจึงดูไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ ทำให้คนญี่ปุ่นเปลี่ยนวิธีเรียกคนรักภาษาญี่ปุ่นด้วยคำอื่นๆ ที่เหมาะสมมากขึ้น เช่น
- ผู้ชายเรียกภรรยาของตัวเองว่า 嫁 (yome) หรือ 嫁さん (yome-san) มากเป็นอันดับหนึ่ง
- ผู้หญิงเรียกสามีของตัวเองว่า 旦那 (danna) หรือ 旦那さん (danna-san) มากเป็นอันดับหนึ่ง
- คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่นิยมใช้คำว่า 夫 (otto) — สามี และ 妻 (tsuma) — ภรรยา เรียกคู่สมรสของตัวเองค่อนข้างมาก เพราะเป็นคำที่ดูเป็นกลาง เสมอภาคกัน
- คำเรียกแบบคนรุ่นใหม่อีกคำ คือคำว่า パートナー (paatonaa partner) แต่คำนี้บางครั้งให้ความหมายที่ไม่ชัดเจน เพราะสามารถหมายถึง “คนรัก” หรือ “หุ้นส่วนธุรกิจ” ก็ได้
ส่วนคำเรียกขานคู่สมรสของผู้อื่น ส่วนใหญ่ยังคงใช้แบบดั้งเดิม นั่นคือ ご主人 (goshujin) — สามี และ 奥さん (okusan) — ภรรยา