ที่อยู่ภาษาญี่ปุ่น วิธีอ่านที่อยู่ และเขียนที่อยู่ไปรษณีย์ภาษาญี่ปุ่น

หากคุณอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น คุณอาจจะเคยถามทางหรือบอกทางภาษาญี่ปุ่นมาบ้างแล้ว บางครั้งอาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆ ไป เช่น ห้าง โรงเรียน โรงพยาบาล ก็หาง่ายหน่อย แต่หากเป็นสถานที่ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ หรือเป็นที่อยู่แบบบ้านเลขที่ การเดินทางไปยังที่อยู่นั่นจะเป็นเรื่องค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่คุณอ่านที่อยู่ภาษาญี่ปุ่นไม่เป็น บทความนี้ครูภาษาญี่ปุ่นของเราจะมาสอนวิธีอ่านที่อยู่ภาษาญี่ปุ่นให้คุณไม่ต้องหลงทางในญี่ปุ่นอีกต่อไป

การเขียนที่อยู่ภาษาญี่ปุ่น

ก่อนอื่นเราต้องรู้รูปแบบการเขียนที่อยู่ในภาษาญี่ปุ่นก่อน สิ่งที่ทำให้การเขียนที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นแตกต่างจากการเขียนที่อยู่ของประเทศไทย คือ ประเทศญี่ปุ่นไม่มีชื่อถนน (ยกเว้นที่อยู่ของจังหวัดเกียวโตและซัปโปโรที่จะไม่เหมือนที่อื่นๆ) รูปแบบการเขียนที่อยู่ของประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มต้นด้วยรหัสไปรษณีย์และตามด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด ไล่ลงไปจนถึงส่วนที่เล็กและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด ได้แก่ หมายเลขห้องหรืออพาร์ทเมนท์นั่นเอง

การเขียนด้วยตัวโรมันจิ

สำหรับการพิมพ์ที่อยู่ด้วยตัวโรมันจิหรือตัวอักษรโรมัน ลำดับของการเขียนจะกลับกันกับการเขียนที่อยู่ด้วยตัวอักษรญี่ปุ่น กล่าวคือ ที่อยู่จะเริ่มต้นจากเลขที่ห้องพักของอพาร์ทเมนท์ ชื่ออาคาร แล้วตามด้วยด้วยจังหวัดและรหัสไปรษณีย์ เมื่อใส่ที่อยู่ของญี่ปุ่นลงไปในกูเกิ้ลแมพส์ (Google Maps) จะต้องพิมพ์ที่อยู่ตามลำดับดังกล่าวนี้

ตัวอย่างการเขียนที่อยู่ไปยังสำนักงานแห่งหนึ่งโดยใช้ตัวอักษรโรมันจิและตัวอักษรญี่ปุ่น

อักษรโรมันจิ
3-13-3 3F Seiwa Ikebukuro building, Higashi-Ikebukuro, Toshima-ku, Tokyo-to 170-0013

อักษรคันจิ
〒170-0013 東京都豊島区東池袋3-13-3 星和池袋ビル 3階

ลองมาดูคำอธิบายของส่วนประกอบของที่อยู่ข้างต้นทีละส่วนกัน

1. รหัสไปรษณีย์

〒170-0013 คือ รหัสไปรษณีย์ อักษร 〒 คือสัญลักษณ์ของไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น (มีลักษณะคล้ายกับอักษร テ (te) ซึ่งเป็นอักษรคาตากานะ) รหัสไปรษณีย์ของประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 7 ตัว มีวิธีการเขียนดังนี้ NNN-NNNN

2. จังหวัด

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่นมีทั้งสิ้น 47 จังหวัด จังหวัดเป็นส่วนประกอบที่สองของที่อยู่ในภาษาญี่ปุ่น โดยทั่วไปจะอ่านและเขียนว่า (ken) เช่น 栃木県 (Tochigi-ken) จังหวัดโทชิกิ มีข้อควรรู้บางประการเกี่ยวกับคำว่าจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่

  • กรุงโตเกียวไม่ใช่จังหวัด แต่เป็น ”มหานคร” ซึ่งก็คือ (to) ในภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นมหานครโตเกียวจึงสามารถเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า 東京都 (Tokyo-to)
  • โอซาก้าและเกียวโตเป็นจังหวัดที่มีลักษณะเป็นเมืองใหญ่ ดังนั้นจึงใช้คำว่า (fu) แทน เช่น จังหวัดโอซาก้าในภาษาญี่ปุ่น คือ 大阪府 (Osaka-fu)
  • แม้ว่าฮอกไกโดเป็นจังหวัดหนึ่งในญี่ปุ่น แต่ชื่อของมันมีอักษรลงท้ายเป็นตัว (dō) ที่แปลว่า ”วงจร” ในภาษาญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงจังหวัดฮอกไกโดจะเขียนว่า 北海道 (Hokkaido) โดยไม่ต้องมีคำลงท้ายอื่นๆต่ออีก

3. เขตเทศบาล (เมือง, เขต, แขวง)

  • “เมือง” ภาษาญี่ปุ่นคือ (shi)
  • “แขวง” ภาษาญี่ปุ่นคือ  (ku)
  • “เขต” ภาษาญี่ปุ่นคือ (gun)

ชื่อเมืองจะต่อด้วยคำลงท้าย (shi) เช่น เมืองโยโกฮาม่า เขียนว่า 横浜市 (Yokohama-shi)

เมืองใหญ่ๆจะแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆลงไป เรียกว่า “เขต” ในกรุงโตเกียวจะประกอบด้วยเขตทั้งหมด 23 เขตพิเศษ เขตพิเศษในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า

特別区 (tokubetsu-ku)

แต่โดยทั่วไปเราใช้คำว่า ”เขต” หรือ (ku) มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น เขตชินจูกุ ภาษาญี่ปุ่นคือ 新宿区 (Shinjuku-ku)

พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เล็กลงไปอีก ได้แก่ ”แขวง” หรือ ”ตำบล” หรือ 郡 (gun) ในภาษาญี่ปุ่น เรามักพบแขวงหรือตำบลในเขตชนบทของญี่ปุ่น เช่น แขวงกุนมะ 群馬郡 (Gunma-gun) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกุนมะ เป็นต้น

4. ชุมชน / หมู่บ้าน

ที่อยู่หลายๆ แห่งในประเทศญี่ปุ่นยังถูกซอยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ให้เล็กลงไปอีกเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน

  • “ชุมชน” ภาษาญี่ปุ่นคือ (machi หรือ chō)
  • “หมู่บ้าน” ภาษาญี่ปุ่นคือ (mura หรือ son)

ดูตัวอย่าง 桜木町 (Sakuragi-chō) ที่หมายถึง ชุมชนซากุระงิ ที่ตั้งอยู่ในโยโกฮาม่า ส่วนแรกของที่อยู่ที่ไปยังชุมชนซากุระงิโชจะเขียนว่า

神奈川県 横浜市 中区 桜木町
(Kanagawa ken Yokohama-shi Nakaku Sakuragichō)
จังหวัดคานากาวะ, เมืองโยโกฮาม่า, เขตนากะ, ชุมชนซากุระงิ

5. เขตท้องถิ่น

เมืองในประเทศญี่ปุ่นจะแบ่งออกเป็นเขตท้องถิ่นอีก เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า

  • “เขตท้องถิ่น” ภาษาญี่ปุ่น คือ 丁目 (chōme)

การกำหนดเขตท้องถิ่นจะขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางของเมือง โดยทั่วไปเมื่อเราอ่านที่อยู่ในภาษาญี่ปุ่นจะเห็นอักษร 丁目 (chōme) อยู่หลังตัวเลข เช่น 3丁目 (sanchōme) หมายถึง เขตท้องถิ่นที่ 3

6. เลขที่ตึกหรือบล็อก

ต่อจากเขตท้องถิ่นก็มาถึงเลขที่ของตึก (City block) ในภาษาญี่ปุ่น คือ

  • “เลขที่ตึก” ภาษาญี่ปุ่น คือ 番地 (banchi)

เช่นเดียวกับเขตท้องถิ่น เลขที่/หมายเลขของตึกหรือหมายเลขบล็อกจะนำหน้าด้วยตัวเลข ลักษณะของแต่ละบล็อกส่วนใหญ่จะไม่มีระเบียบแบบแผน รูปร่างไม่แน่นอนและอยู่อย่างกระจัดกระจาย เนื่องจากหมายเลขของบล็อกจะถูกกำหนดหลังจากการขึ้นทะเบียน

7. บ้านเลขที่

ลำดับของบ้านและอาคารจะใช้หมายเลขเป็นตัวกำกับ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า

“บ้านเลขที่” ภาษาญี่ปุ่น คือ (gō)

ลำดับของตัวเลขจะขึ้นอยู่กับว่าบ้านนั้นถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ดังนั้นเลขที่บ้านของบ้านแต่ละหลังจึงไม่ได้เรียงตามลำดับ และเลขที่บ้านก็จะถูกกำหนดในลักษณะตามเข็มนาฬิกาวนไปรอบๆของซิตี้บล็อกหรือช่วงตึกด้วย

8. ชื่ออาคารและเลขที่ห้อง

ชื่อบ้านหรืออาคารบางครั้งอาจจะมีเลขที่บ้านตามหลัง

ยกตัวอย่างเช่น อิจิบังราเมนในชิบุยาตั้งอยู่ที่ชั้น B1 ของอาคารอิวะโมโต

東京都 渋谷区 神南 1丁目22−7 岩本ビル B1F
(Tōkyōto Shibuya-ku Jin’nan 1-chōme 22 − 7 Iwamoto Biru B 1 F)
อาคารอิวาโมโตะ ชั้น B1, 1-22-7 จินนัน, ชิบุยะ, โตเกียว

สำหรับอพาร์ทเมนท์ บ้านเลขที่ (หรือชื่อของอาคาร) จะตามด้วยเลขที่ห้องของอพาร์ทเมนท์ ซึ่งจะอยู่หลังจากหมายเลขของเขตท้องถิ่น, เลขบล็อกหรือช่วงตึกและบ้านเลขที่อีกที ยกตัวอย่างเช่น ที่อยู่ในอพาร์ทเมนท์หนึ่ง อาจจะเขียนว่า

3丁目3番地13号502
(หรือ 3-3-13-502)

ซึ่งหมายความว่า เลขที่ห้องคือ 502 นั่นเอง

ข้อยกเว้น

สุดท้ายนี้ มีข้อยกเว้นบางประการของการเขียนที่อยู่ในภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับวิธีการอ่านที่อยู่ภาษาญี่ปุ่นของนครเกียวโตและซัปโปโร การเขียนที่อยู่ของเกียวโตและซัปโปโร จะขึ้นอยู่กับถนนที่วางไว้ในแผนผังซึ่งแตกต่างจากเมืองในญี่ปุ่นส่วนใหญ่

ที่อยู่เมืองเกียวโต

ในเมืองเกียวโต จะตั้งชื่อสี่แยกของถนนสองสาย แล้วระบุว่าตำแหน่งของที่อยู่อยู่ด้านใดของทางแยก คือ

  • “ด้านบน” ภาษาญี่ปุ่นคือ 上ル (agaru) หรือ “เหนือ”
  • “ด้านล่าง” ภาษาญี่ปุ่นคือ 下ル (sagaru) หรือ “ใต้”
  • “เข้าทางทิศตะวันออก” ภาษาญี่ปุ่นคือ 東入ル (higashi-iru)
  • “เข้าทางทิศตะวันตก” ภาษาญี่ปุ่นคือ 西入ル (nishi-iru)

นอกจากนั้นการเขียนที่อยู่โดยยึดถนนสองสายที่ตัดกันนี้ยังไม่มีมาตรฐานการเขียนที่แน่นอน คนเขียนจะระบุชื่อถนนเส้นหนึ่งก่อน แล้วจึงระบุถนนที่อยู่ตรงข้าม และสุดท้ายจะระบุชื่อถนนที่อยู่ใกล้กับถนนเส้นตรงข้าม ดังนั้นการเขียนที่อยู่ของสถานที่หนึ่งในเกียวโตจึงเขียนได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคนเขียนจะระบุชื่อสถนนเส้นใดเป็นเส้นแรก

ตัวอย่างเช่นที่อยู่แบบเป็นทางการของ Tokyo Tower คือ

〒600-8216
京都市下京区烏丸通七条下ル 東塩小路町 721-1

รหัสไปรษณีย์ 600-8216
721-1 ฮิกาชิชิโอโคจิ-โช, คาราสุมะ-โดริ นานาโจ ชิโมรุ, ชิโมเกียว-คุ, เมืองเกียวโต

ที่อยู่อย่างไม่เป็นทางการอาจเขียนได้ดังต่อไปนี้

京都市下京区 (Kyōto-shi, Shimogyō-ku)
烏丸七条下ル (Karasuma-Shichijō-sagaru)
東塩小路町 721-1 (Higashi-Shiokōji 721-1)

ที่อยู่นี้หมายความว่า “ทางทิศใต้ของทางแยกของถนนคาราสึมะและชิจิโจ” หรือแปลตรงตัวว่า “ถนนคาราสึมะ ทางทิศใต้ของชิจิโจ” (ถนนคาราสึมะวิ่งทิศเหนือ-ใต้ ส่วนถนนชิจิโจวิ่งทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก)

ที่อยู่เมืองซัปโปโร

ใจกลางเมืองซัปโปโรจะถูกแบ่งเป็น 4 แยกด้วยถนนที่ตัดกัน 2 เส้น คือ Kita-Ichijo และ Soseigawa Dori จากนั้นตั้งชื่อบล็อกตามระยะทางที่ห่างออกไปจากแยกนี้ซึ่งนับเป็นแยกใจกลางเมือง ระยะทางตะวันออก – ตะวันตกจะเรียกเป็น “เขตท้องถิ่น” 丁目 (chōme) ส่วนระยะทางเหนือ-ใต้ จะระบุเป็น (jō) ที่แปลว่า “จุด, หลัก, ทางแยก”

ตัวอย่างที่อยู่ตึก Sapporo JR Tower

札幌市中央区北5条西2丁目5番地
Sapporo-shi, Chūō-ku, kita-5-jō-nishi 2-chōme 5-banchi

ที่อยู่นี้ระบุว่าตึกนี้อยู่บล็อกทางแยกทิศเหนือที่ 5 และเขตท้องถิ่นทางทิศตะวันตกที่ 2 ห่างจากใจกลางเมือง ที่อยู่นี้ในซัปโปโรจะถูกเรียกตามทิศในภาษาญี่ปุ่น คือ

  • “ทิศเหนือ” ภาษาญี่ปุ่น คือ (kita)
  • “ทิศใต้” ภาษาญี่ปุ่น คือ (minami)
  • “ทิศตะวันตก” ภาษาญี่ปุ่น คือ 西入 (nishi)
  • “ทิศตะวันออก” ภาษาญี่ปุ่น คือ 東入 (higashi)

เมื่อได้อ่านคู่มือการเขียนและอ่านที่อยู่เป็นภาษาญี่ปุ่นจากบทความนี้แล้ว หวังว่าจะช่วยให้การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นของคุณครั้งต่อไปจะสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วคนญี่ปุ่นใจดี พร้อมช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเสมอ หากคุณหลงทางก็เรียนประโยคภาษาญี่ปุ่นง่ายๆ และวิธีถามทางเอาไว้ด้วยก็จะดี นอกจากนี้การเรียนวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่สำคัญอย่างเช่น การโค้งคำนับ ก็ช่วยสร้างความประทับใจให้ชาวญี่ปุ่นได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้หากคุณอยากส่งการ์ดอวยพรวันเกิดภาษาญี่ปุ่นความหมายดีๆ คำอวยพรวันคริสต์มาสภาษาญี่ปุ่นในเทศกาลแห่งความสนุกสนาน หรือส่งคำอวยพรสุขสันต์วันปีใหม่ภาษาญี่ปุ่นให้เพื่อนชาวญี่ปุ่นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอีกต่อไป

แบบฝึกหัดภาษาญี่ปุ่นการเขียนที่อยู่ภาษาญี่ปุ่น

อัพเดทล่าสุด: