รวมคำศัพท์อาชีพ ภาษาอังกฤษ พร้อมคำอ่านและคำแปล
เรียนภาษาอังกฤษจากชื่อเรียกอาชีพภาษาอังกฤษทุกอาชีพที่ใช้บ่อย หาชื่ออาชีพภาษาไทยของคุณ เปรียบเทียบกับชื่ออาชีพภาษาอังกฤษที่เรานำมาเสนอไว้ให้กว่า 60 ชื่อได้เลย
เทียบชื่อ อาชีพ ภาษาอังกฤษ เป็นอาชีพภาษาไทย
- Actor
(แอคเท่อะ)
นักแสดง - Accountant
(อะเคาเทินท์)
นักบัญชี, สมุหบัญชี - Author
(ออเธอร์)
นักประพันธ์, นักเขียน - Architect
(อาร์คิเท็คท์)
สถาปนิก - Astronomer
(แอสทรอนโนเม่อะ)
นักดาราศาสตร์ - Baker
(เบเขอะ)
คนทำขนมปัง - Bus driver
(บัส ไดรเว่อะ)
คนขับรถประจำทาง - Bricklayer
(บริค เลเอ่อะ)
ช่างปูน, ช่างก่ออิฐ - Butcher
(บุชเช่อะ)
คนขายเนื้อ, คนฆ่าสัตว์ขาย, คนชำแหละเนื้อสัตว์ - Cleaner
(คลีนเน่อะ)
คนทำความสะอาด - Carpenter
(คาร์เพนเท่อะ)
ช่างไม้ - Cook
(คุค)
พ่อครัว, คนปรุงอาหาร - Dentist
(เด็นทิสท์)
หมอฟัน, ทันตแพทย์ - Designer
(ดีซายเน่อะ)
นักออกแบบ - Doctor
(ด็อคเท่อะ)
แพทย์, หมอ - Dustman
(ดัสท์แมน)
คนเก็บขยะ - Driver
(ไดรเว่อะ)
คนขับรถ, คนขับขี่ - Engineer
(เอ็นจินเนียร์)
วิศวกร, นายช่าง, คนขับรถไฟ - Electrician
(อิเล็คทริชเฉิ่น)
ช่างไฟฟ้า, ช่างไฟ - Factory worker
(แฟคทะรี เวอร์เค่อะ)
พนักงานโรงงาน - Farmer
(ฟาร์มเม่อะ)
ชาวนา, ชาวไร่ - Fisherman
(ฟิชเช่อะเมิน)
ชาวประมง, คนจับปลา - Fireman
(ฟายเออะเมิน)
นักดับเพลิง - Florist
(ฟลอริสท์)
คนขายดอกไม้ - Gardener
(การ์ดเน่อะ)
ชาวสวน, คนทำสวน - Hairdresser
(แฮร์เดรสเซ่อะ)
ช่างทำผม - Judge
(จัดจ์)
ผู้พิพากษา, ตุลาการ - Journalist
(เจอน่ะลิสท์)
นักหนังสือพิมพ์ - Lawyer
(ลอเยอะ)
นักกฎหมาย, ทนายความ - Lecturer
(เล็กเชอะเร่อะ)
ผู้บรรยาย, วิทยากร - Lifeguard
(ไลฟ์การ์ด)
เจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนตกน้ำ - Librarian
(ไลแบรเรียน)
บรรณารักษ์ - Model
(โมเดิล)
นางแบบ, นายแบบ - Mechanic
(มะแคนนิค)
ช่างยนต์, ช่างเครื่อง, ช่างกล - Nurse
(เนิร์ซ)
พยาบาล - Newsreader
(นิวซ์รีดเด่อะ)
ผู้ประกาศข่าว - Optician
(ออพทิชเชิ่น)
คนขายแว่นตา - Photographer
(ฟะทอกกระเฟ่อะ)
ช่างภาพ, ช่ายถ่ายรูป - Painter
(เพนเท่อะ)
จิตรกร, ช่างทาสี - Pharmacist
(ฟาร์มมะซิสท์)
เภสัชกร - Pilot
(ไพเลิท)
นักบิน - Police
(พะลีซ)
ตำรวจ - Plumber
(พลัมเม่อะ)
ช่างประปา - Politician
(พอลลิทิชเชิ่น)
นักการเมือง - Postman
(โพสท์เมิ่น)
บุรุษไปรษณีย์ - Real estate agent
(รีลลิสเททเทเจิ่น)
นายหน้าขายที่ดิน, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ - Receptionist
(รีเซพเชินนิสท์)
พนักงานต้อนรับ - Scientist
(ไซเอินทิสท์)
นักวิทยาศาสตร์ - Secretary
(เซคริเทอรี)
เลขานุการ - Shop assistant
(ช็อพ อะซิสเทินท์)
พนักงานขายของ - Soldier
(โซลเจ่อะ)
ทหาร - Sweeper
(สวีเพ่อะ)
ภารโรง, คนปัดกวาด - Tailor
(เทเล่อะ)
ช่างตัดเสื้อ - Teacher
(ทีเช่อะ)
ครู, อาจารย์, ผู้สอน - Taxi driver
(แทคซี ไดรเว่อะ)
คนขับรถแท็กซี่ - Translator
(ทรานสเลทเท่อะ)
นักแปล, ผู้แปล - Traffic warden
(แทรฟฟิค วอร์เดิ่น)
ผู้คุมจราจร, ผู้ตรวจตราจราจร - Travel agent
(แทรฟเวิล เอเจินท์)
ตัวแทนสำนักงานท่องเที่ยว - Veterinary doctor
(เวทเทอะระแน้เรียน)
สัตวแพทย์ - Washerman
(วอชเช่อะเมิน)
คนรับจ้างซักเสื้อผ้า - Watchman
(วอทช์เมิ่น)
ยามรักษาการณ์
เทียบชื่อ อาชีพภาษาไทยเป็น อาชีพ ภาษาอังกฤษ
นักแสดง — Actor
นักแสดงชายในภาษาอังกฤษ คือ Actor ส่วนนักแสดงหญิงเราจะเรียกว่า Actress สำหรับ Actor หรือ Actress นั้นก็คืออาชีพนักแสดงในละคร, ภาพยนตร์, ซีรีส์, รายการโทรทัศน์หรือละครเวทีที่สวมบทบาทเป็นตัวละครต่างๆ
นักบัญชี — Accountant
นักบัญชี คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคำนวณ บันทึกและจัดเก็บข้อมูลทางบัญชีและการเงิน ในภาษาอังกฤษคำว่า Accountant ยังหมายรวมถึงอาชีพที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและวิเคราะห์งบการเงินอีกด้วย
นักประพันธ์, นักเขียน — Author
คำว่า Author หรือนักเขียน หมายถึง ผู้ที่เขียนหนังสือ, บทความ, นิยายรวมไปถึงงานวรรณกรรมต่างๆ
สถาปนิก — Architect
Architect หรือสถาปนิก คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการการออกแบบและวางแผนการก่อสร้างอาคาร เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่ต้องการ
นักดาราศาสตร์ — Astronomer
Astronomer หรือนักดาราศาสตร์เป็นนักวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ศึกษาความเป็นไปของเอกภพและจักรวาล พวกเขาจะมีความเชี่ยวชาญในการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆ ในจักรวาล
คนทำขนมปัง — Baker
Baker หรือคนทำขนมปังคืออาชีพหนึ่งที่เชี่ยวชาญการทำอาหาร เฉพาะทางด้านขนมปังและขนมอบหรือเบเกอรี่ชนิดต่างๆ เช่น เค้ก, คุ้กกี้, พัฟและพาย เป็นต้น
คนขับรถประจำทาง — Bus driver
คนขับรถประทาง ในภาษาอังกฤษคือ Bus driver หรือ Bus operation เป็นอาชีพหนึ่งที่มีหน้าที่ขับรถโดยสารประทางเพื่อหาเลี้ยงชีพนั่นเอง
ช่างปูน, คนก่ออิฐ — Bricklayer
ช่างปูนหรือคนก่ออิฐ คือ ผู้ที่มีหน้าที่ก่อกำแพงบ้าน อาคารหรือโครงสร้างอื่นๆด้วยอิฐ จึงมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Bricklayer
คนขายเนื้อ — Butcher
คำว่า butcher ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่ฆ่าสัตว์, แล่เนื้อสัตว์ หรือขายเนื้อสัตว์ หรือสำหรับบางคนก็ทำทั้งสามหน้าที่เลย
คนทำความสะอาด — Cleaner
คนทำความสะอาด ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Cleaner คือ แรงงานในครัวเรือนหรือในภาคอุตสาหกรรม มีหน้าที่ทำความสะอาดบ้านหรือสถานที่ต่างๆเพื่อหาเลี้ยงชีพ
ช่างไม้ — Carpenter
Carpenter หรือ ช่างไม้ เป็นอาชีพที่ต้องใช้ฝีมือและทักษะในการตัด สร้าง ประกอบและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์หรือโครงสร้างอื่นๆ ที่ทำจากไม้ เช่น ประตู, หน้าต่าง, ตู้ครัว เป็นต้น
พ่อครัว — Cook
อาชีพพ่อครัว ในภาษาอังกฤษเรียกว่า cook หรือ chef ซึ่งหมายถึงคนที่ทำงานในโรงแรม, ร้านอาหารหรือศูนย์อาหารประเภทอื่นๆ เป็นอีกหนึ่งอาชีพในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับการบริโภค
ทันตแพทย์ — Dentist
Dentist หรือ ทันตแพทย์ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีหน้ามีตาในสังคม มีหน้าที่ดูแลฟันและสุขภาพในช่องปากให้แก่ประชาชน
นักออกแบบ — Designer
Designers หรือ นักออกแบบมีหลายประเภท เช่น สถาปนิก นักออกแบบในวงการแฟชั่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผู้กำกับศิลป์ในอุตสาหกรรมบันเทิง ช่างภาพ หรือประติมากรรม ฯลฯ สายงานของนักออกแบบเป็นที่ต้องการมากและมีการแข่งขันกันสูงในยุคปัจจุบัน
แพทย์, หมอ — Doctor
แพทย์หรือหมอ ในภาษาอังกฤษเราใช้คำว่า Doctor เป็นบุคลากรในระบบสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญ มีหน้าที่ดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บต่างๆ ของประชาชน เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีเกียรติและได้รับการยอมรับในสังคมสูง
คนเก็บขยะ — Dustman
คนเก็บขยะในภาษาอังกฤษเรียกได้หลายแบบ เช่น Dustman, Collector หรือ Trashman ก็ได้ คนเก็บขยะมีหน้าที่เก็บรวบรวมขยะจากถังขยะในสถานที่ต่างๆ ไปทิ้ง
คนขับรถ — Driver
Driver หรือคนขับรถ หมายถึง อาชีพบังคับหรือควบคุมยานพาหนะให้เคลื่อนที่ไป มีทั้งขับรถส่วนบุคคล บริษัทหรือในภาคอุตสาหกรรม
วิศวกร — Engineer
Engineer หรือวิศวกร คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพด้านวิศวกรรม มีหน้าที่คิดวิเคราะห์ คำนวน ออกแบบ ตรวจสอบแก้ใขปัญหา ไปจนถึงควบคุมการผลิต และเป็นอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้วย
ช่างไฟฟ้า — Electrician
Electrician หรือช่างไฟฟ้า คือ อาชีพที่ใช้ฝีมือและทักษะในการเดินสายไฟฟ้าของอาคาร, สายส่ง, เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าด้านต่างๆ
พนักงานโรงงาน — Factory worker
พนักงานโรงงน หรือ Factory worker คือ คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ เครื่องจักรหรือสายการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ชาวนา, ชาวสวน, ชาวไร่ — Farmer
คำว่า Farmer ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้หมายถึงชาวนาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคคลที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น ชาวสวน, ชาวไร่, คนเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
ชาวประมง — Fisherman
Fisherman หรือชาวประมง เป็นอาชีพที่มีหน้าที่จับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ จากแม่น้ำ, ทะเลสาปหรือมหาสมุทร
นักดับเพลิง — Fireman
นักดับเพลิง ในภาษาอังกฤษสามารถเรียกได้สองแบบ คือ Fireman หรือ firefighter เป็นคนทำงานเพื่อป้องกันเหตุอัคคีภัยต่างๆ เป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีในการดับไฟในเหตุเพลิงไหม้ต่างๆ
คนขายดอกไม้ — Florist
คนขายดอกไม้ หรือ Florist ในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ทำหน้าที่ขายดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงการออกแบบและจัดดอกไม้ในรูปของช่อดอกไม้, แจกันหรือพวงหรีดด้วย
คนทำสวน — Gardener
คนทำสวนหรือ Gardener คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนทั้งหมด ไม่ว่าจะตัดตกแต่งพืชพรรณในสวน ดูแลรดน้ำต้นไม้ การถางพื้นที่เพื่อเพาะปลูก หรือปลูกพรรณไม้ต่างๆ
ช่างทำผม — Hairdresser
ช่างทำผม หรือ Hairdresser เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ตัดแต่งทรงผมของทั้งชายหรือหญิง สามารถออกแบบทรงผม, ย้อมหรือโกรกผม ตัดผม และจัดตกแต่งทรงผมให้ลูกค้าได้ตามต้องการ
ผู้พิพากษา — Judge
Judge หรือผู้พิพากษา คือ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามาเป็นประธานในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้พิพากษา คือ การฟังข้อกล่าวหาของคู่ความและตัดสิน
นักหนังสือพิมพ์ — Journalist
นักหนังสือพิมพ์ หรือ Journalist ในอดีตกับในปัจจุบันมีหน้าที่คล้ายกัน ต่างกันตรงช่องทางการนำเสนอข่าวสารให้ออกสู่สาธารณชน นักหนังสือพิมพ์คนทำงานที่ศึกษาวิเคราะห์เขียน และแก้ไขพร้อมกับจัดเก็บเรื่องราวและบทความใหม่ นักข่าวต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ มาวิเคราะห์และเขียนหรือเล่าออกมาเป็นข่าว
ทนายความ — Lawyer
Lawyer หรือทนายความ คือคนที่ประกอบอาชีพทางกฎหมายในฐานะทนายความที่ปรึกษา ซึ่งมีใบอนุญาตให้ว่าความหรือแก้ต่างคู่ความในคดีความต่างๆ บทบาทของทนายความจะแตกต่างกันไปตามเขตอำนาจศาล
วิทยากร — Lecturer
คำว่า lecturer ในภาษาอังกฤษจะหมายถึง วิทยากรหรืออาจารย์ผู้สอนในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย
เจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนตกน้ำ — Lifeguard
Lifeguard คือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วนกู้ภัยที่ดูแลความปลอดภัยและช่วยเหลือนักว่ายน้ำ นักโต้คลื่นหรือผู้ที่อยู่ในสระว่ายน้ำ เจ้าหน้าที่เหล่านี้เป็นนักว่ายน้ำที่มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะถูกว่าจ้างให้เฝ้าระวัง ดูแลความปลอดภัยและช่วยชีวิตคนที่ลงไปเล่นน้ำในสระ ทะเลสาบหรือชายหาด
บรรณารักษ์ — Librarian
Librarians หรือ บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพและทำงานในห้องสมุดและให้บริการเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
นายแบบ, นางแบบ — Model
Model ในภาษาไทยคือ นายแบบหรือนางแบบ สามารถเป็นได้ทั้งชายและหญิง เป็นอาชีพที่ใช้รูปร่างหน้าตาในการนำเสนอผลงานทางแฟชั่น ทั้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ทรงผม หรือเครื่องสำอางต่างๆ
ช่างยนต์, ช่างเครื่อง, ช่างกล — Mechanic
Mechanic ในภาษาอังกฤษ คือ ทักษะอาชีพที่อาศัยความชำนาญและฝีมือในการตรวจสอบ ซ่อมแซมยานพาหนะ เครื่องจักรและรถบรรทุกขนาดเล็ก
พยาบาล — Nurse
Nurse หรือ พยาบาล เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์และบันทึกอาการจองผู้ป่วย ดูแลและรักษาพยาบาล ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ทั้งกายและใจ
ผู้ประกาศข่าว — Newsreader
Newsreader หรือผู้ประกาศข่าว คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและนำเสนอต่อผู้ชมเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คนขายแว่นตา — Optician
Optician หมายถึง คนประกอบและขายแว่นตา รวมถึงคอนแทคเลน์ เป็นผู้ปฏิบัติการด้านเทคนิคที่ทำหน้าที่ออกแบบ ติดตั้งและจำหน่ายแว่นตาหรือเลนส์สายตาเพื่อแก้ไขปัญหาการมองเห็น
ช่างภาพ — Photographer
บทบาทหน้าที่ของช่างภาพ หรือ Photographer คือ การถ่ายรูปอย่างสร้างสรรค์ในเทคนิคต่างๆ เพื่อให้รูปที่ออกมาสวยงามและตรงตามวัตถุประสงค์
ช่างทาสี — Painter
ช่างทาสี หรือ Painter มีหน้าที่ทาพื้นผิวเดิมด้วยสีต่างๆ หรือขัดพื้นผิวที่ไม่เรียบออกก่อนลงสีรองพื้นหรือทำยาแนว รวมไปถึงการลอกวอลเปเปอร์เก่าออกและทาสีใหม่ด้วย
เภสัชกร — Pharmacist
เภสัชกร หรือ Pharmacist เป็นนักเคมีหรือนักปรุงยาเพื่อจ่ายยาให้กับคนป่วยหรือคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
นักบิน — Pilot
Pilot หรือนักบิน ทำหน้าที่ขับเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ หรือให้การสนับสนุนการบิน เช่น ติดต่อศูนย์วิทยุการบิน เป็นต้น
ตำรวจ — Police
Police มาจากคำเต็มว่า Police officer เป็นอาชีพที่ทำงานในกองบังคับการตำรวจ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่สืบสวนคดีความทางกฎหมายและเหตุฉุกเฉินทางอาญา หน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของตำรวจ คือ ช่วยเหลือประชาชนในกรณีฉุกเฉินและแก้ปัญหาอาชญากรรม รวมถึงการปกป้องทรัพย์สินของประชาชน
ช่างประปา — Plumber
Plumber หรือ ช่างประปา เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมท่อส่งน้ำและท่อระบายน้ำ รวมถึงติดตั้งเครื่องจักรหรืออุปกรณ์บางอย่างสำหรับเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องล้างจาน อ่างล้างจาน อ่างอาบน้ำ หรือเครื่องซักผ้า นอกจากนี้ยังซ่อมแซมห้องนำ้และห้องสุขาได้อีกด้วย
นักการเมือง — Politician
นักการเมืองหรือ Politician คือ บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการเมือง มีอำนาจทางการเมืองในรัฐบาล ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์สุขของประชาชน ทักษะที่จำเป็นของนักการเมือง คือ ความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบราชการ รวมถึงความเข้าใจปัญหาของสังคมและวัฒนธรรม
บุรุษไปรษณีย์ — Postman
Postman หรือบุรุษไปรษณีย์ คือ บุคคลที่ทำงานในที่ทำการไปรษณีย์ มีหน้าที่รวบรวมจดหมายหรือพัสดุจากที่ทำการไปรษณีย์และตู้ไปรษณีย์ตามสถานที่ต่างๆ แล้วส่งไปยังที่อยู่ที่จ่าหน้าบนซองจดหมายหรือกล่องพัสดุ
นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ — Real estate agent
ผู้ที่ขายบ้าน อาคารหรือที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า เรียกว่า นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หรือ Real estate agent โดยการทำงานจะได้รับค่าคอมมิชชั่นหรือรับเงินตามเปอร์เซนต์ของราคาขายสินทรัพย์ ทักษะสำคัญของการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์คือ ความอดทน ทักษะต่อรองและการแก้ปัญหา
พนักงานต้อนรับ — Receptionist
Receptionist หรือพนักงานต้อนรับ เป็นพนักงานที่ทำงานในสำนักงานหรือองค์กร ทำหน้าที่ให้ข้อมูลหรืออธิบายรายละเอียดต่างๆขององค์กรให้กับผู้ที่มาติดต่อ
นักวิทยาศาสตร์ — Scientist
นักวิทยาศาสตร์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Scientist คือผู้วิจัยหรือศึกษาเกี่ยวเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อความก้าวหน้าทางความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ นักวิทยาศาสตร์บางคนเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกฝนผู้คนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ต่อไป
เลขานุการ — Secretary
Secretary หรือ เลขานุการ หมายถึง พนักงานที่ทำงานในสำนักงาน มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยฝ่ายบริหาร และประสานงานหน่วยงานต่างๆในองค์กร
พนักงานขายของ—Shop assistant
Shop assistant หรือพนักงานขายของ คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการติดต่อหาลูกค้า นำเสนอและโน้มน้าวให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า รวมถึงการให้บริการก่อนและหลังการขายด้วย
ทหาร — Soldier
ทหาร หรือ Soldier ในภาษาอังกฤษ คือ คนที่รับราชการในกองทัพ ทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศชาติจากศัตรูและการก่อการร้าย
ภารโรง — Sweeper
Sweeper หรือ ภารโรง หมายถึง คนทำความสะอาดพื้นหรือถนนด้วยการกวาด ทำให้สังคมของเราสะอาดน่าอยู่
ช่างตัดเสื้อ — Tailor
ช่างตัดเสื้อ หรือ Tailor คือ คนที่ออกแบบ ตัดเย็บ แก้ไข ตกแต่งหรือซ่อมแซมเสื้อผ้า อาจจะทำคนเดียวหรือทำงานเป็นทีมที่มีสมาชิกเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
ครู, อาจารย์ —Teacher
Teacher หรือครู, อาจารย์เป็นผู้สอนเด็กในโรงเรียน, มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาอื่นๆ คุณครูสอนความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตในสังคม
คนขับรถแท็กซี่ — Taxi driver
Taxi driver หรือ คนขับแท็กซี่ คือ คนที่ทำหน้าที่พาผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามที่พวกเขาต้องการ และได้เงินเป็นค่าตอบแทน
นักแปลภาษา, ล่าม — Translator
Translator ในภาษาไทยเรียกว่า ล่ามหรือนักแปลภาษา หมายถึง คนที่ทำหน้าที่แปลภาษาจากภาษาหนึ่งให้เป็นอีกภาษาหนึ่ง สำหรับภาษาที่เราไม่รู้จัก เราสามารถใช้ล่ามหรือนักแปลภาษาเพื่อทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้
ผู้คุมจราจร — Traffic warden
ผู้คุมจราจร หรือ Traffic warden เป็นงานดูแลการจราจรบนท้องถนน เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีหน้าที่ดูแลประชาชน
ตัวแทนสำนักงานท่องเที่ยว — Travel agent
Travel Agent หรือภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า เอเยนซี่ทัวร์ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการขนส่งเพื่อการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการท่องเที่ยวหรือวัตถุประสงค์อื่นๆ หน้าที่ของตัวแทนการท่องเที่ยว คือ การทำการตลาดเพื่อโปรโมทธุรกิจและจัดการการเดินทางตามงบประมาณที่กำหนดไว้
สัตวแพทย์ — Veterinarian
สัตวแพทย์ หรือ Veterinarian เป็นอาชีพที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสัตว์ เพื่อนำความรู้มารักษาอาการเจ็บป่วยของสัตว์ คนที่จบการศึกษาทางด้านสัตวแพทย์ จะได้รับการฝึกฝนให้ดูแลสัตว์และช่วยชีวิตสัตว์ด้วย
คนรับจ้างซักผ้า — Washerman
Washerman หรือคนรับจ้างซักผ้า คือ คนที่ได้ค่าตอบแทนจากการซักผ้าด้วยมือหรือเครื่องซักผ้า
ยามรักษาการณ์ — Watchman
Watchman หรือ ยามรักษาการณ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ยาม” คือ ผู้ที่ดูแลและป้องกันอาคาร สำนักงาน บ้านเรือนหรือร้านค้าจากโจรผู้ร้ายหรืออาชญากร ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คนที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่รู้จักเข้ามาทำความเสียหายต่อสถานที่และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง
การถามอาชีพภาษาอังกฤษ
การถามแบบไม่เป็นทางการ
คำถามที่ใช้ในการถามอาชีพที่ได้ยินบ่อย เช่น
What do you do?
What do you do for living?
ทั้งสองประโยคด้านบนหมายความว่า “คุณทำอาชีพอะไร?” ทั้งคู่ คำถามอื่นๆที่อาจได้ยิน เช่น
What kind of work do you do?
What line of work are you in?
การถามแบบเป็นทางการ
การถามอาชีพที่เป็นแบบทางการมากๆ มักได้ยินในการสัมภาษณ์หรือการพูดคุยที่เป็นทางการ ไม่นิยมใช้ในการถามเพื่อทำความรู้จักกับคนทั่วไป คำถามที่ใช้ถาม คือ
What is your profession?
What is your occupation?
การตอบอาชีพภาษาอังกฤษ
I’m a … (ฉันเป็น…)
จากนั้นตามด้วยชื่ออาชีพของเราที่อยู่ในรูปของคำถาม เช่น teacher, chef, photographer, student เป็นต้น คำตอบอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้ยินบ่อยกรณีผู้ตอบเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆ เช่น
I run a … (ฉันบริหาร/จัดการ…)
I have a … (ฉันมี…)
จากนั้นตามด้วยร้านหรือบริษัทที่ทำ เช่น a bakery shop, a cafe, my own business, a farm เป็นต้น
ในสังคมอเมริกัน การถามอาชีพเป็นคำถามที่คนอเมริกันยินดีตอบ แต่ต้องระวังไม่ถามเกี่ยวกับค่าจ้างหรือเงินค่าตอบแทนของพวกเขา จะถือว่าเป็นคำถามที่ล่วงเกินความเป็นส่วนตัวมากเกินไป
ชื่ออาชีพภาษาอังกฤษอื่นๆ ที่ใช้บ่อย
อาชีพในโรงเรียน — School staff members
ชื่ออาชีพภาษาอังกฤษ | คำแปลอาชีพภาษาไทย |
---|---|
Teacher | ครู |
Guidance Counsellor | ครูแนะแนว |
Human Resources Assistant | เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล |
Principal | ครูใหญ่ |
Assistant Principal | ผู้ช่วยครูใหญ่ |
Athletic/Sport Coach | ครูพละ, ครูฝึกสอนกีฬา |
Art Teacher | ครูศิลปะ |
Instrumental Music Teacher | ครูสอนดนตรี |
School Nurse | ครูพยาบาล |
School Librarian | บรรณารักษ์โรงเรียน |
School Bus Driver | คนขับรถโรงเรียน |
Academic Director | ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ |
Superintendent | ผู้อำนวยการ |
อาชีพงานออฟฟิศ — Office workers
ชื่ออาชีพภาษาอังกฤษ | คำแปลอาชีพภาษาไทย |
---|---|
Secretary | เลขานุการ |
Receptionist | พนักงานต้อนรับ |
Administrative director | ผู้อำนวยการฝ่ายธุรการ |
Administrative manager | ผู้จัดการฝ่ายธุรการ |
Executive assistant | ผู้ช่วยผู้บริหาร |
Client relations manager | ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ |
Office manager | ผู้จัดการสำนักงาน |
Administrative officer | เจ้าหน้าที่ธุรการ |
Staff assistant | ผู้ช่วยพนักงาน |
Account manager | ผู้จัดการบัญชี |
Actuary | นักคณิตศาสตร์ประกันภัย |
Business development coordinator | ผู้ประสานงานพัฒนาธุรกิจ |
Client advisor | ที่ปรึกษาลูกค้า |
Analyst | นักวิเคราะห์ |
Human resource personnel | บุคลากรฝ่ายทรัพยากรบุคคล |
Marketing specialist | ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด |
Accountant | นักบัญชี |
Business analyst | นักวิเคราะห์ธุรกิจ |
Sales representative | ตัวแทนฝ่ายขาย |
President | ประธาน |
Vice President | รองประธาน |
Credit analyst | นักวิเคราะห์สินเชื่อ |
อาชีพคนงาน — Labourers หรือ Laborers
ชื่ออาชีพภาษาอังกฤษ | คำแปลอาชีพภาษาไทย |
---|---|
Construction Worker | คนงานก่อสร้าง |
Heavy Equipment Operator | ผู้ประกอบการเครื่องจักรกลหนัก |
Carpenter | ช่างไม้ |
Electrician | ช่างไฟฟ้า |
Welder | ช่างเชื่อม |
Painter | ช่างทาสี |
Crane Operator | พนักงานขับรถเครน |
Building Inspector | เจ้าหน้าที่ตรวจอาคาร |
Pipe fitter | ช่างวางท่อ |
Iron Worker | ช่างเหล็ก |
ในองค์กร มีบทบาททางธุรกิจหลายประเภทที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตั้งแต่มืออาชีพระดับผู้บริหารไปจนถึงพนักงานระดับเริ่มต้น คุณสามารถใช้คำศัพท์อาชีพในการแนะนำตัวภาษาอังกฤษ และบ่อยครั้งที่คุณจำเป็นจต้องใช้คำศัพท์อาชีพภาษาอังกฤษในการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ