สรุปหลักการใช้ verb to have (have, has, had) ใช้ยังไง แปลว่าอะไร
คำกริยาที่เรียกว่า “verb to have” เป็นคำกริยาพื้นฐานที่คนเรียนภาษาอังกฤษกับครูภาษาอังกฤษต้องรู้ “verb to have” มีทั้งหมด 4 รูป ดังต่อไปนี้
have, has, having, had
“verb to have” ตามคำแปลหลักๆ จะมีความหมายว่า “มี” หรือ “กิน” และสามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกริยาหลัก (main verb) และกริยาช่วย (auxiliary verb) ได้อีกด้วย
ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ have/has ให้ถูกต้องกัน
1. การใช้ Have/Has ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (main verb)
“verb to have” เป็นกริยาไม่ปกติ ดังนั้นมันจะเปลี่ยนรูปตามกาล (tense) และประธานของประโยค ความหมายของ “verb to have” เมื่อทำหน้าที่เป็นกริยาหลักหมายถึงการครอบครอง การแสดงความเป็นเจ้าของ
หลักการผันกริยา have/has เมื่อใช้เป็นกริยาหลักมีง่ายๆ ดังนี้
- Has ใช้กับ He/She/it และประธานเอกพจน์อื่นๆ
- Have ใช้กับ I/You/We/They และประธานพหูพจน์อื่นๆ
- Had เป็นรูปอดีตของ Have/Has ใช้ได้กับประธานทุกตัว
1.1 Have/Has ในรูปปัจจุบัน
เมื่ออยู่ในรูปปัจจุบัน ให้เราเลือกใช้ have หรือ has ตามประธานของประโยคได้เลย
โครงสร้างประโยค
ประธาน + have/has +…
ตัวอย่างเช่น
- I have a new job.
ฉันมีงานใหม่ - She has dinner every night.
เธอกินมื้อเย็นทุกวัน
ในประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) เราจำเป็นต้องใช้คำว่า “not” วางไว้หลังคำกริยาช่วย “verb to do” และเราจะใช้ have กับทุกประธานในประโยคปฏิเสธ
“verb to do” คือ do/does จะต้องผันตามประธาน มีกฏการผันง่ายๆ ดังนี้
- do ใช้กับ I/We/You/They และคำนามพหูพจน์อื่นๆ (do not ย่อเป็น don’t)
- does ใช้กับ He/She/It และคำนามเอกพจน์อื่นๆ (does not ย่อเป็น doesn’t)
- did เป็นรูปอดีตของ do/does ใช้กับทุกประธาน
ตัวอย่างเช่น
- I do not have a new job.
ฉันไม่ได้มีงานใหม่ - She did not have dinner every night.
เธอไม่ได้ทานข้าวเย็นทุกคืน
1.2 Have/Has ในรูปอดีต
เมื่ออยู่ในรูปอดีต ประธานทุกตัวจะใช้ had ทั้งหมด
โครงสร้างประโยค
ประธาน + had + …
ตัวอย่างเช่น
- I had a cat when I was little.
ฉันมีแมว 1 ตัวตอนที่ฉันยังเด็ก
เมื่อต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธ ให้เติม “did not” หลังประธาน และตามด้วย have สำหรับประธานทุกตัวเหมือนกันหมด
ตัวอย่างเช่น
- I did not have a cat when I was little.
ฉันไม่ได้มีแมวตอนที่ฉันยังเด็ก
1.3 Have/Has ในรูปกริยาช่อง 3
Past participle หรือกริยาช่อง 3 คือกริยาที่ลงท้ายด้วย -ed และตามหลัง “verb to have” กริยาช่อง 3 มักใช้กับ Perfect tenses ต่างๆ และใช้ในประโยคแบบ Passive voice อีกด้วย
กริยาช่อง 3 “verb to have” จะอยู่ในรูป had เสมอ ไม่ว่าประธานจะเป็นใครก็ตาม
ตัวอย่างเช่น
- I have had enough money for this car.
ฉันมีเงินพอสำหรับรถคันนี้ - Mary had had lunch already when he came home yesterday.
แมรี่กินอาหารกลางวันไปแล้วตอนนี้เขากลับมาบ้านเมื่อวาน - Stacy will have had a pet rabbit.
สเตซี่จะมีสัตว์เลี้ยงเป็นกระต่าย
การทำประโยค Perfect tense ให้เป็นประโยคปฏิเสธ (Negative Sentense) เราจะเติมคำว่า “not” ด้านหลังกริยาช่วย (Auxiliary verb)
ตัวอย่างเช่น
- I have not had enough money for this car.
ฉันไม่มีเงินพอสำหรับรถคันนี้ - Mary had not had lunch already when he came home yesterday.
แมรี่ไม่ได้กินอาหารกลางวันไปแล้วตอนนี้เขากลับมาบ้านเมื่อวาน - Stacy will not have had a pet rabbit.
สเตซี่จะไม่มีสัตว์เลี้ยงเป็นกระต่าย
1.4 Have/Has ใน Continuous
กริยาแบบต่อเนื่อง continuous ของกริยา “verb to have” เป็นการเติม -ing ด้านหลัง have ทำให้คำกริยาอยู่ในรูป “having” เสมอ และเราใช้คำกริยานี้ใน continuous tenses ต่างๆ การใช้กริยา have/has ในประโยค continuous tenses จะต้องใช้กริยาช่วย (Auxiliary verb) เป็น “Verb to do” หรือ “Verb to have” เข้ามากริยาหลัก (main verb) having ด้วย
ในกรณีนี้ “verb to be” ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นกริยา จะต้องผันตามประธานและกาล ในขณะที่กริยาแท้ have/has จะใช้ having เสมอกับทุกประธาน โดยมีกฏการผันง่ายๆ ดังนี้
- is ใช้กับ He/She/It และคำนามเอกพจน์อื่นๆ
- am ใช้กับประธาน I เท่านั้น
- are ใช้กับ We/You/They และคำนามพหูพจน์อื่นๆ
- was เป็นรูปอดีตของ is และ am
- were เป็นรูปอดีตของ are
ตัวอย่างเช่น
- The teacher is having a serious talk with your parents right now.
คุณครูกำลังคุยกับผู้ปกครองของคุณอย่างเคร่งเครียดในตอนนี้ - Lisa was having a seizure in her sleep.
ลิซ่าเคยมีอาการชักเมื่อนอนหลับ - Anne will be having enough money when this house is on sale.
แอนจะมีเงินเพียงพอพอดีเมื่อบ้านหลังนั้นมีการลดราคา
การทำประโยค Continuous tense ให้เป็นประโยคปฏิเสธ (Negative Sentense) เราจะเติมคำว่า “not” ด้านหลังกริยาช่วย (Auxiliary verb)
ตัวอย่างเช่น
- She is not having it.
เธอไม่ยอมหรอก - They were not having any food in this hunger strike.
พวกเขาไม่กินอะไรเลยในการประท้วงอดอาหารนี้ - He won’t be having this pair of trainers for long.
เขาจะไม่ได้ใช้รองเท้าวิ่งคู่นี้นานขนาดนั้นหรอก
I am not มักนิยมย่อเป็น I’m not ส่วนในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เราจะพบว่ามีการย่อ I am not เป็น I ain’t บ่อยๆ
2. การใช้ Have/has เป็นกริยาช่วย (auxiliary verb)
ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างของ “Verb to have” คือมันสามารถใช้เป็นกริยาช่วยเพื่อสร้าง perfect tenses ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อใช้ร่วมกับคำกริยาหลักอื่นๆ แม้ “verb to have” จะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก เช่น
She has left the building at 4 pm.
เธอออกจากอาคารไปแล้วเมื่อ 4 โมงเย็น
ในประโยคตัวอย่างด้านนี้ “verb to have” ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (auxiliary verb) และ left (กริยาช่อง 3 ของ leave) ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก และประโยคนี้เป็นประโยค Present Perfect Tense
ต่อไปนี้เรามาดูการทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary verb) ของ have/has กัน
ตัวอย่างเช่น
- She has kept it a secret for 3 years.
เธอเก็บมันเป็นความลับมา 3 ปีแล้ว - John had finished his homework by the time mom got home.
จอห์นทำการบ้านเสร็จแล้วตอนที่แม่กลับมาที่บ้าน - I will have loved you for a very long time.
ฉันจะรักคุณไปตราบนานเท่านาน
ในประโยคปฏิเสธ (Negative sentence) ที่มี “Verb to have” ทำหน้าที่เป็นคำกริยาช่วย (Auxiliary verb) เราจะเติมคำว่า not ด้านหลังกริยาช่วย have/has หรือกริยาช่วยแบบ modal verb (กริยาช่วยที่ไม่สามารถเป็นกริยาหลักได้) ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง
- Henry has not eaten anything for a whole day.
เฮนรี่ไม่ได้กินอะไรเลยมาทั้งวันแล้ว - My husband hadn’t picked up our daughter when I called the school.
สามีของฉันไม่ได้ไปรับลูกสาวของเราตอนที่ฉันโทรไปที่โรงเรียน - He will not have hoped for such opportunity to occur again.
เขาจะไม่คาดหวังว่าโอกาสแบบนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
3. การใช้ตัวย่อของ “Verb to have”
“Verb to have” สามารถนำมาย่อได้ทั้งในประโยคบอกเล่า (affirmative sentences) และประโยคปฏิเสธ (negative sentences)
ตัวอย่างการย่อ “Verb to have” ในประโยคบอกเล่า
- I have – I’ve
- you have -you’ve
- he/she/it has – he’s /she’s /it’s
- we/they/you have – we’ve /they’ve /you’ve
ตัวอย่างการย่อ “Verb to have” ในประโยคปฏิเสธ
- I have not – I haven’t
- you have not – you haven’t
- he/she/it has not – he/she/it hasn’t
- we/they/you have not – we/they/you haven’t
4. have/has/had + to แปลว่า “จำเป็นต้อง”
โครงสร้างประโยค:
ประธาน + have/has/had to + V.1
ตัวอย่างเช่น
- I have to get up early.
ฉันจำเป็นต้องตื่นแต่เช้า - She has to do it herself.
เธอต้องทำด้วยตัวเอง - They had to go.
พวกเขาจำเป็นไป
5. have/has ในประโยคที่แสดงถึงการกระทำที่ไม่ได้กระทำด้วยตัวเอง (Causative form)
การใช้ have/has ในลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. Have someone do something — ให้ใครเป็นคนทำบางอย่าง
โครงสร้างประโยค:
ประธาน + have/has/had + ผู้กระทำ + V.1
ตัวอย่างเช่น
- I have my son do his homework.
ฉัน(สั่ง)ให้ลูกชายทำการบ้านของเขา - Jane has her husband cook every day.
เจนให้สามีของเธอทำอาหารทุกวัน - I will have the painter paint my house.
ฉันจะให้ช่างทาสีมาทาสีบ้านของฉัน
2. Have something done — ให้ใครทำบางอย่างโดยไม่ได้พูดถึงตัวผู้กระทำ
โครงสร้างประโยค:
ประธาน + have/has/had + สิ่งที่ถูกกระทำ + V.3
ตัวอย่างเช่น
- I have my car washed every month.
ฉันล้างรถทุกเดือน (คนอื่นเป็นคนล้างให้) - He had his TV fixed.
เขาเอาทีวีไปซ่อมมา (คนอื่นหรือช่างเป็นคนซ่อม)
6. สำนวน Verb to have ตามด้วย a + verb
ในสำนวนที่มีการใช้ verb to have ตามหลังด้วยคำกริยาแล้วมี a นำหน้าคำกริยาตัวนั้นจะมีผลทำให้กริยาตัวนั้นเป็นคำนาม แปลความหมายโดยยึดกริยาข้างหลัง
ตัวอย่างเช่น
- I want to have a rest.
ฉันต้องการพักผ่อน - I and my friends had a swim in the pool yesterday.
ฉันและเพื่อนๆไปว่ายน้ำที่สระเมื่อวานนี้ - My mother has a walk every morning.
แม่ของฉันออกไปเดินทุกเช้า