สัทอักษรภาษาจีนกลาง 23 ตัว พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ พินอิน (Pinyin)

ภาษาจีนนั้นไม่มีระบบการเขียนแบบสะกดคำหรือไม่มีระบบพยางค์ แต่มีวิธีเขียนตัวอักษรแบบรูปภาพแทน (logographic) ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ (อักษรจีน) เพื่อแสดงความหมายมากกว่าการจะใช้เสียงแทนความหมาย แม้แต่ตัวเลขภาษาจีน ที่ใช้บอกวันเดือนปีภาษาจีน หรือเวลาในภาษาจีนก็เป็นอักษรภาพ

ปัจจุบันสัทอักษรสำหรับภาษาจีนที่ใช้ มีอยู่สองแบบใหญ่ๆ คือ แบบ จู้อิน (Zhuyin) และแบบ พินอิน (Pinyin) โดยจู้อินนั้นนิยมใช้ในไต้หวัน ส่วนพินอินนิยมใช้กันมากในจีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศอื่นๆ ที่มีการติดต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึงประเทศไทยด้วย ทุกวันนี้การสอนภาษาจีนส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็ใช้พินอิน

จู้อิน (Zhuyin) คืออะไร ?

จู้อิน ฝูเฮ่า (Zhuyin Fuhao) มักเรียกกันย่อๆว่า “จู้อิ” (zhuin) หรือโดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “บอพอมอฟอ” (bopomofo) เป็นระบบของสัญลักษณ์แทนการออกเสียงทั้งหมดในภาษาจีนกลาง ในประเทศไต้หวัน เด็กๆ จะโตมาพร้อมๆกับการใช้จู้อิน ในเวลาต่อมาอาจจะเรียนรู้เกี่ยวกับพินอิน (pinyin) หรือไม่ก็ได้

สัญลักษณ์ที่ใช้ในจู้อินทั้งหมด 37 ตัว แบ่งออกเป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้

聲母 พยัญชนะต้นพยางค์ (initial) (21)
ㄅㄆㄇㄈ ㄉㄊㄋㄌ ㄍㄎㄏ ㄐㄑㄒ ㄓㄔㄕㄖ ㄗㄘㄙ

介音 เสียงตรงกลาง (medial)(3)
ㄧㄨㄩ

韻母 สระ (final)(13)
ㄚㄛㄜㄝ ㄞㄟㄠㄡ ㄢㄣㄤㄥ ㄦ

พินอิน (Pinyin) คืออะไร?

พินอิน (Pinyin) หรือ ฮั่นหยู่ พินอิน (Hanyu Pinyin) คือ ระบบการสะกดชื่อและคำในภาษาจีนด้วยตัวอักษรละติน ตามลักษณะการออกเสียง พินอินนั้นหากแปลตามตัวอักษรในภาษาจีนกลางจะหมายถึง “เสียงสะกด” การเรียนพินอินเป็นเรื่องที่ค่อยข้างจำเป็นสำหรับผู้เรียนภาษาจีน ผู้ที่เริ่มเรียนภาษาจีนควรเข้าใจวิธีอ่านพินอินก่อน จะช่วยให้เรียนรู้การออกเสียงคำต่างๆในภาษาจีนกลางได้อย่างถูกต้อง

พินอิน (Pinyin) นั้นเรียนง่าย เพราะมีส่วนประกอบเพียงแค่ 3 ส่วนเท่านั้น และคล้ายกับภาษาไทย คือ

พยัญชนะ (Initials) คือ เสียงพยัญชนะที่แทนเสียงที่ปรากฎในต้นพยางค์ของคำ

สระ (Finals) คือ เสียงปิดท้ายของพยางค์ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งสระเสียงเดี่ยว สระเสียงประสมหรือสระประสมระหว่างเสียงสระและเสียงพยัญชนะก็ได้

วรรณยุกต์ (Tone marks) จะใช้กำกับการออกเสียงในแต่ละพยางค์ มีทั้งหมด 4 โทนเสียง ได้แก่ โทนเสียงที่ 1 (สามัญ), โทนเสียงที่ 2 (จัตวา), โทนเสียงที่ 3 (เอก) และโทนเสียงที่ 4 (โท) รวมไปถึงโทนเสียงเบา (neutral fifth tone) คือเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์ ออกเสียงเพียงครึ่งเสียงเท่านั้น

พยัญชนะในระบบพินอิน (Pinyin Initials)

พยัญชนะพยัญชนะเทียบเสียงภาษาไทยตัวอย่าง
bปอ  (bó) — กว้างขวาง
pพอ破  (pò) — แตกหัก, เสียหาย
mมอ蘑菇  (mó gu) — เห็ด
fฟอ佛教  (fó jiào) — พระพุทธศาสนา
dเตอ德国 (dé guó) — ประเทศเยอรมัน
tเทอ特别 (tè bié) — พิเศษ
nเนอ  (ne) — คำกริยาอนุภาค
lเลอ  (lěng) — หนาว
gเกอ哥哥 (gē ge) — พี่ชาย
kเคอ可以 (kě yǐ) — สามารถ, อาจจะ
hเฮอ (hē) — ดื่ม
jจี计划 (jì huà) — วางแผน
qชี  (qī) — เจ็ด
xซี西 (xī) — ทิศตะวันตก
zจือ  (zì) — คำศัพท์
cชือ  (cì) — จำนวนครั้ง
sซือ  (sì) — สี่
zhจืฺอ  (zhǐ) — เท่านั้น
chชืฺอ  (chī) — กิน
shซืฺอ  (shì) — เป็น, คือ, ใช่
rยืฺอ (rì) — พระอาทิตย์, วัน

สระในระบบพินอิน (Pinyin Finals)

เครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ต้องวางไว้เหนือสระเท่านั้น ดังนั้นเราจะเห็นวรรณยุกต์วางอยู่เหนือสระในระบบพินอินเช่นเดียวกัน

จำไว้ว่าเราต้องใช้เสียง ü เมื่อรวมกับพยัญชนะบางตัว ถึงแม้ว่าจะตัวพินอินจะเขียนแค่ “u” ก็ตาม เราจะใช้เสียง ü กับพยัญชนะต่อไปนี้

สระเสียงเดี่ยว

สระสระเทียบเสียงภาษาไทยตัวอย่าง
w/uวู, อู  (wǔ) — ห้า
y/iอี医生 (yī shēng) — แพทย์, หมอ
üอวี  (qù) — ไป
aอา  (bāng) — ช่วย
oออ (wǒ) — ฉัน
eเออ德国 (dé guó) — เยอรมัน
êเอ (yě) — ด้วย
aiไอ (ài) — รัก
eiเอย  (lèi) — เหนื่อย
aoเอา  (yào) — ต้องการ
ouโอว  (yǒu) — มี
anอัน安静 (ān jìng) — เงียบ
angอัง (cháng) — ยาว
enเอิน  (hěn) — มาก
engเอิง朋友 (péng you) — เพื่อน
erเออร์儿子  (ér zi) — ลูกชาย

สระเสียงผสม

สระสระเทียบเสียงภาษาไทยตัวอย่าง
ㄨㄥongอง  (sòng) — ส่ง
ㄨㄚuaอวา  (h) — พูดคุย
ㄨㄛuoอวอ  (c) — ผิดพลาด
ㄨㄞuaiไอว  (kuài) — เร็ว
ㄨㄟu(e)iเอวย (h) — สามารถที่จะ
ㄨㄢuanอวัน穿  (chuān) — สวม, ใส่
ㄨㄤuangอวัง (zhuàng) — ชนกัน
ㄨㄣu(e)nเอวิน春天  (chūn tiān) — ฤดูใบไม้ผลิ
丨ㄚiaเอีย (j) — บ้าน
丨ㄝieอีเอ (j) — ถนน
丨ㄠiaoเอียว  (niǎo) — นก
丨ㄡi(o)uอิว  (j) — เก้า
丨ㄢ ianเอียน  (xiān) — อันดับแรก, ก่อน
丨ㄤiangเอียง  (xiǎng) — อยาก, ต้องการ
丨ㄣinอิน  (jīn) — ทอง
丨ㄥingอิง  (bīng) — น้ำแข็ง
ㄩㄥiongอยง (jiǒng) — สว่าง
ㄩㄝüeเยว  (y) — พระจันทร์
ㄩㄢüanเยวียน  (yuǎn) — ไกล
ㄩㄣünอวิน  (yún) — เมฆ
  • j as in  (— ประโยค
  • q as in  () — ไป
  • y as in  (— ฝน
  • x as in  (— ต้องการ

ในกรณีอื่นๆ คุณต้องใช้เสียงดังกล่าวนี้เมื่อมีจุดสองจุดเหนือ u เช่น  绿色  ( sè) – สีเขียว, and 女 () – ผู้หญิง

เสียงวรรณยุกต์ในระบบพินอิน (The Pinyin Tones)

ในขั้นต่อมาในการเรียนรู้เรื่องระบบพินอิน คือ การทำความคุ้นเคยกับ “โทนเสียงในภาษาจีน” ซึ่งมีทั้งหมด 4 โทน รวมถึง โทนเสียงเบาหรือ neutral โทนด้วย

ต่อไปนี้คือตัวอย่างเสียง “ma” พร้อมกับวิธีการออกเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 โทนเสียง ดังต่อไปนี้

() — แม่ (เสียงที่ 1)

  () — ชา, มึนงง (เสียงที่ 2)

() — ม้า (เสียงที่ 3)

() — ดุ (เสียงที่ 4)

吗  (ma) — คำสร้อยแสดงการตั้งคำถาม เช่น มั้ย, หรือเปล่า (เสียงที่ 5)

เครื่องหมายต่างๆ ที่อยู่เหนือสัญลักษณ์ “a” เรียกว่า เครื่องหมายวรรณยุกต์ (tone marks) เครื่องหมายเหล่านี้จะเป็นตัวระบุว่าคำนั้นมีโทนการออกเสียงหรือเสียงวรรณยุกต์เป็นอย่างไร

โทนเสียงที่ 1 (–) เสียงสามัญ

เสียงที่ 1 คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย เป็นการออกเสียงแบบเรียบๆ

ตัวอย่าง :

妈妈 ( ma) — แม่

(bāng) — ช่วย

(jiē) — ถนน

哥哥  ( ge) — พี่ชาย

โทนเสียงที่ 2 (/) เสียงจัตวา

เสียงที่สอง เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาของเสียงวรรณยุกต์ไทย

ตัวอย่าง :

昨天 (zuó tiān) — เมื่อวานนี้

南瓜 (nán guā) — ฟักทอง

时间 (shí jiān) — เวลา

(tóng) — เหมือนกัน

โปรดสังเกตว่าจากคำตัวอย่างข้างต้นนั้นประกอบด้วยเสียงที่สองและเสียงที่หนึ่ง เราเรียกกันว่า “คู่โทน” ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

โทนเสียงที่ 3 (∨) คล้ายเสียงเอก

โทนเสียงที่ 3 ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย แต่ไม่ใช่เสียงเอกเสียทีเดียว เสียงนี้เราจะกดเสียงให้ต่ำลงตรงกลางเสียง ตามหลักการแล้วมันคือโทนเสียงที่ 4 แล้วตามด้วยเสียงที่ 2 นั่นเอง

  (hǎo) — ดี

  () — คุณ, เธอ

(zǒu) — เดิน

里  () — ข้างใน

โทนเสียงที่ 4 (\) เสียงโท

เสียงที่ 4 หรือ เสียงโท โทนเสียงนี้จะเริ่มจากสูงแล้วลดต่ำลงมาอย่างรวดเร็ว ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียงโทของเสียงวรรณยุกต์ไทย

ตัวอย่าง :

爸爸  ( ba) — father

() — to go

  (zuò) — to do

上  (shàng) — up

โทนเสียงที่ 5

วรรณยุกต์เสียงที่ 5 นี้ เราไม่นับเป็นเสียงวรรณยุกต์เพราะไม่ออกเสียงวรรณยุกต์นั่นเอง

เสียงวรรรณยุกต์นี้รู้จักกันในชื่อว่า “เสียงเบา” หรือ neutral tone วรรณยุกต์เสียงที่ 5 ใช้กับพยางค์ที่ออกเสียงเบาหรือไม่ต้องการเน้น ออกเสียงสั้นกว่าโทนเสียงทั้งสี่ก่อนหน้านี้ และไม่มีรูปวรรณยุกต์ในการเขียนพินอินด้วย

มีคำสร้อยหรือคำลงท้ายหลายๆ คำใช้เสียงวรรณยุกต์นี้ เช่น  (ba).

เราจะสังเกตเห็นเสียงเบา (neutral tone) นี้อยู่ท้ายคำบางคำ พบบ่อยโดยเฉพาะการออกเสียงจีนกลางแบบปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ออกเสียงในลักษณะนี้

ตัวอย่างคำที่มีเสียงเบา

(de) — ของ (คำอนุภาคแสดงความเป็นเจ้าของ)

(ma) — คำอนุภาคแสดงถึงการตั้งคำถาม

爸爸 (bà ba) — พ่อ

朋友 (péng you— เพื่อน

คู่โทนในระบบพินอิน

คู่โทน คือ คำที่ประกอบด้วยเสียงวรรณยุกต์สองเสียง ซึ่งอาจจะเป็นเสียงเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

คู่โทนที่หนึ่ง (First Tone Pairs)

คู่โทนตัวอย่าง
เสียงที่ 1 + เสียงที่ 1 (– –)今天 (jīn tiān) — วันนี้
เสียงที่ 1 + เสียงที่ 2 (– /)今年 (jīn nián) — ปีนี้
เสียงที่ 1 + เสียงที่ 3 (– ∨)屋子 (wū zǐ) — บ้าน
เสียงที่ 1 + เสียงที่ 4 (– \)出去 (chū qù) — ออกไป

บ่อยครั้งเมื่อเราจับคู่โทน “เสียงที่ 1 + เสียงที่ 3” ชาวจีนเจ้าของภาษาจะตัดเสียงที่สามออกไปแล้วเปลี่ยนเป็นโทนเสียงที่ 5 หรือเสียงเบาแทน ดังนั้นคำว่า 屋子(wū zǐ) จึงอาจออกเสียงเป็น wū zi แทน

คู่โทนที่สอง (Second Tone Pairs)

คู่โทนตัวอย่าง
เสียงที่ 2 + เสียงที่ 1 (/ –)房间  (fáng jiān) — ห้อง
เสียงที่ 2 + เสียงที่ 2 (/ /)符合  (fú hé) — สอดคล้องกัน, ประกบกัน
เสียงที่ 2 + เสียงที่ 3 (/ ∨)牛奶  (niú nǎi) — นมวัว
เสียงที่ 2 + เสียงที่ 4 (/ \)一下  (yí xià) — ซักครู่, แป๊บนึง

หากรู้จักตัวเลขในภาษาจีนกันมาแล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมโทนเสียงของ ในตัวอย่างสุดท้ายถึงใช้โทนเสียงที่สอง

อธิบายได้ว่าเสียงแรกของคำนั้นจะเปลี่ยนเป็นโทนเสียงที่สอง เมื่อมันถูกตามด้วยโทนเสียงที่สี่ เช่นเดียวกับ คำว่า 不看(bú kàn) ที่แปลว่า “ไม่เห็น” ก็เปลี่ยนเป็นเป็นโทนเสียงที่สองเมื่อถูกตามด้วยเสียงที่สี่เช่นกัน

จากตัวอย่าง เราจึงไม่พูดว่า 一下 (yì xià) หรือ 不看(bù kàn) แต่เราจะเปลี่ยนเสียงเป็น 一下( xià) และ不看( bú kàn) แทน

นอกจากนี้ คำว่า จะเปลี่ยนเป็นโทนเสียงที่สี่เมื่อถูกตามด้วยโทนเสียงที่ 1 ยกตัวอย่างเช่น

一天 ( tiān) — วันหนึ่ง จึงเปลี่ยนเสียงเป็น 一天  ( tiān)

ในภาษาจีนมีคำว่า  และ  เท่านั้นที่ต้องเปลี่ยนโทนเสียง

คู่โทนที่สาม (Third Tone Pairs)

คู่โทนตัวอย่าง
เสียงที่ 3 + เสียงที่ 1(∨ –)北京  (běi jīng) — ปักกิ่ง
เสียงที่ 3 + เสียงที่ 2 (∨ /)警察  (jǐng chá) — ตำรวจ
เสียงที่ 3 + เสียงที่ 3 (∨ ∨)你好  (nǐ hǎo) — สวัสดี
เสียงที่ 3 + เสียงที่ 4 (∨ \)有趣  (yǒu qù) — น่าสนใจ, สนุก

แม้  และ  จะเป็นเพียงสองคำในภาษาจีนที่สามารถเปลี่ยนโทนเสียงได้ แต่มีกฎเล็กๆ น้อยๆ ที่ส่งผลต่อการออกเสียงคู่โทน “เสียงที่สาม + เสียงที่สาม”

กฎนั้นบอกว่า เราจะไม่ออกเสียงที่สามสองพยางค์ติดต่อกัน โดยพยางค์แรกจะเปลี่ยนเป็นโทนเสียงที่สอง ตัวอย่างเช่น คำว่า 你好 เวลาเขียนพินอินจะเป็น (nǐ hǎo) แต่เมื่อออกเสียงจริงจะกลายเป็น ( hǎo) แทน

ลองมาดูตัวอย่างเพิ่มเติมอีกสักหน่อย

很好 (hěn hǎo) — ดีมาก ออกเสียงเป็น hén hǎo

水果 (shuǐ guǒ) — ผลไม้ ออกเสียงเป็น shuí guǒ

影响 (yǐng xiǎng) — อิทธิพล ออกเสียงเป็น yíng xiǎng

คู่โทนที่ 4 (Fourth Tone Pairs)

คู่โทนตัวอย่าง
เสียงที่ 4 + เสียงที่ 1 (\ –)唱歌  (chàng gē) — ร้องเพลง
เสียงที่ 4 + เสียงที่ 2 (\ /)问题  (wèn tí) — ปัญหา, คำถาม
เสียงที่ 4 + เสียงที่ 3 (\ ∨)汉语  (hàn yǔ) — ภาษาจีนกลาง, ภาษาจีนแมนดาริน
เสียงที่ 4 + เสียงที่ 4 (\ \)动物 (dòng wù) — สัตว์

เพราะภาษาจีนเป็นอักษรภาพ การอ่านและการจำอักษรภาพภาษาจีนแต่ละคำสำหรับผู้เรียนภาษาจีนจำเป็นต้องอาศัยการอ่านพินอิน การเรียนวิธีอ่านพินอินจึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้ภาษาจีนยังมีเสียงวรรณยุกต์คล้ายภาษาไทย หากออกเสียงวรรณยุกต์ผิด คำที่เราพูดก็จะออกเสียงเพี้ยนไป หรือความหมายอาจจะเปลี่ยนไปเลยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระวังในการสนทนาภาษาจีน โดยเฉพาะสถานการณ์สำคัญๆ เช่น การสัมภาษณ์งานภาษาจีน หรือการถามทางภาษาจีนกรณีที่เราหลงทาง เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด: