วิธีบอกเวลาภาษาจีนอย่างละเอียด คำอ่าน เวลาและชั่วโมงภาษาจีน
ปัจจุบันคนทั่วโลกหาครูสอนภาษาจีนและใช้ภาษาจีนสื่อสารกันมากขึ้น การบอกเวลาภาษาจีนหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่จะช่วยให้คุณพูดและสื่อสารภาษาจีนได้อย่างราบรื่น การบอกเวลาในภาษาจีนมีคำศัพท์พื้นฐานและวิธีพูดที่สามารถนำไปใช้สื่อสารง่ายๆได้ทันที ลองมาทำความรู้จักกับคำศัพท์และวิธีการเหล่านี้กันได้เลย
ขั้นที่ 1 : เรียนตัวเลขภาษาจีน
เราจำเป็นรู้วิธีบอกตัวเลขภาษาจีนเพื่อให้บอกเวลาได้ การบอกเวลาในภาษาจีนจะใช้ระบบ 12 นาฬิกาและระบุช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงลงไปด้วย เพื่อให้ทราบว่าเวลานั้นเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
ตัวเลขสำหรับอ่านชั่วโมง
ตัวเลข | คำภาษาจีน | คำอ่านภาษาไทย |
1 | 一 | อี |
2 | 二 | เอ้อร์ (จำนวนนับ) |
2 | 两 | เหลี่ยง (บอกปริมาณ) |
3 | 三 | ซาน |
4 | 四 | ซื่อ |
5 | 五 | หวู่ |
6 | 六 | ลิ่ว |
7 | 七 | ชี |
8 | 八 | ปา |
9 | 九 | จิ่ว |
10 | 十 | สือ |
11 | 十一 | สือ-อี |
12 | 十二 | สือ-เอ้อร์ |
ตัวเลขสำหรับอ่านนาทีและวินาที
การอ่านเวลาภาษาจีนจะใช้หลักการอ่านตามหลักตัวเลขฐานสิบ, อ่านเรียงตัวเมื่อหน่วยนาทีหรือวินาทีนั้นมีค่าน้อยกว่า 10 บางกรณีใช้คำว่าครึ่งในภาษาจีนแทน 30 นาทีหรือ “เค่อ” แทน 15 นาทีเหมือนการอ่านเวลาภาษาอังกฤษดังตัวอย่าง
ตัวเลข | คำภาษาจีน | คำอ่านภาษาไทย |
0 | 零 | หลิง |
10 | 十 | สือ |
15 | 十五 หรือ 一刻 | อู่-สือ หรือ อี-เค่อ |
20 | 二十 | เอ้อร์-สือ |
30 | 三十 หรือ 半 | ซาน-สือ หรือ ป้าน |
40 | 四十 | ซื่อ-สือ |
45 | 四十五 หรือ 三刻 | ซื่อ-สือ-อู่ หรือ ซาน-เค่อ |
50 | 五十 | หวู่-สือ |
60 | 六十 | ลิ่ว-สือ |
ขั้นที่ 2 : เรียนคำบอกเวลา
ลักษณนามบอกเวลาในภาษาจีน
สำหรับการอ่านนาทีและวินาที จะคล้ายกับการอ่านเวลาภาษาญี่ปุ่น และมีการเขียนหน่วยเวลาที่ใช้อ่านนาที วินาที หรือชั่วโมงที่คล้ายกัน หน่วยเวลาที่ควรรู้ดังต่อไปนี้
คำภาษาจีน | คำอ่าน | คำแปลภาษาไทย |
小时 | เสี่ยว-สือ | ชั่วโมง |
点 | เตี่ยน | โมง |
分(钟) | เฟิน (จง) | นาที |
秒 | เหมี่ยว | วินาที |
一刻 | อี-เค่อ | สิบห้านาที |
半 | ป้าน | ครึ่งชั่วโมง |
คำบอกช่วงเวลาในภาษาจีน
ภาษาจีนจะมีคำระบุช่วงเวลาคล้ายกับภาษาอังกฤษ แต่จะวางไว้ข้างหน้าก่อนระบุเวลาตามเข็มนาฬิกา
คำภาษาจีน | คำอ่าน | คำแปลภาษาไทย |
凌晨 | หลิง-เฉิน | ก่อนรุ่งสาง (1:00-6:00) |
早上 | เจ่า-ซ่าง | เช้าตรู่ (6:00-8:00) |
上午 | ซ่าง-หวู่ | ช่วงเช้า (8:00-12:00) |
中午 | จง-หวู่ | ตอนเที่ยง (12:00-13:00) |
下午 | เซี่ย-หวู่ | ช่วงบ่าย (13:00-16:00) |
榜晚 | ป้าง-หว่าน | ช่วงเย็น (16:00-18:00) |
晚上 | หว่าน-ซ่าง | ช่วงค่ำ (18:00-24:00) |
午夜 | หวู่-เย่ | เที่ยงคืน (24:00-1:00) |
คำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
คำภาษาจีน | คำอ่าน | คำแปลภาษาไทย |
现在 | เซี่ยน-จ้าย | ตอนนี้ |
每天 | เหม่ย-เทียน | ทุกวัน |
今天 | จิน-เทียน | วันนี้ |
明天 | หมิง-เทียน | พรุ่งนี้ |
昨天 | จั๋ว-เทียน | เมื่อวาน |
前天 | เฉียน-เทียน | เมื่อวานซืน |
后天 | โห้ว-เทียน | วันมะรืน |
差 | ช่า | ขาด |
ขั้นที่ 3 : วิธีอ่านเวลาภาษาจีน
หากต้องการระบุรายละเอียดของวันและช่วงเวลาา ให้เรียงลำดับจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก กล่าวคือ ระบุวันก่อนแล้วตามด้วยช่วงเวลา และจึงบอกเวลาตามเข็มนาฬิกา ยกตัวอย่างเช่น
明天晚上七点三刻
(หมิง เทียน หว่าน ซ่าง ชี เตี่ยน ซาน เค่อ)
พรุ่งนี้ช่วงหัวค่ำเวลาหนึ่งทุ่มสิบห้านาที
今天上午九点半
(จิน เทียน ซ่าง หวู่ จิ๋ว เตี่ยน ป้าน)
วันนี้ตอนเช้าเก้าโมงครึ่ง
- หากเป็นนาฬิกาตรง ไม่มีเศษของเวลา มักมีคำว่า “จง” ที่แปลว่าตรงต่อท้าย เช่น
12:00
十二点中
(สือ เอ้อร์ เตี่ยน จง)
สิบสองนาฬิกาตรง
8:00
八点中
แปดนาฬิกาตรง
- หากเศษของนาทีนั้นไม่เกินสิบนาที ให้บอกเวลาที่เป็นชั่วโมง ในส่วนของนาทีให้อ่านเรียงตัวเลขไปได้เลย โดยอ่านเลขศูนย์ว่า ”หลิง” เช่น
9:07
九点零七分
(จิ๋วเตียนหลิงชีเฟิน)
เก้านาฬิกาเจ็ดนาที
10:02
(สือเตี่ยนหลิงเอ้อร์เฟิน)
十点零二分
- หากเลขบอกนาที บอกเวลา 15 นาที สามารบอกหรือเขียนเวลาได้สองแบบ ดังตัวอย่าง
11:15
十一点一刻 หรือ 十一点十五分
(สือ อี เตี่ยน อี เค่อ) หรือ (สือ อี เตี่ยน สือ หวู่ เฟิน)
สิบเอ็ดนาฬิกาสิบห้านาที
5:15
五点一刻 หรือ 五点十五分
(หวู่ เตี่ยน อี เค่อ) หรือ (หวู่เตี่ยน สือ หวู่ เฟิน)
ห้านาฬิกาสิบห้านาที
- หากเลขบอกนาที บอกเวลา 15 นาที สามารบอกหรือเขียนเวลาได้สามแบบ ยกตัวอย่างเช่น
3:45
三点三刻 หรือ 三点四十五分 หรือ 差一刻四点
(ซาน เตี่ยน ซาน เค่อ) หรือ (ซาน เตี่ยน ซื่อ สือ หวู่ เฟิน) หรือ (ช่า อี เค่อ ซื่อ เตี่ยน)
สามนาฬิกาสี่สิบห้านาที หรือ ขาดอีกสิบห้านาทีสี่นาฬิกา
11:45
十一点三刻 หรือ 十一点四十五分 หรือ 差一刻十二点
(สือ อี เตี่ยน ซาน เค่อ) หรือ (สือ อี เตี่ยน ซื่อ สือ หวู่ เฟิน) หรือ (ช่า อี เค่อ สือ เอ้อร์ เตี่ยน)
สามนาฬิกาสี่สิบห้านาที หรือ ขาดอีกสิบห้านาทีสี่นาฬิกา
- หากเลขบอกนาที บอกเวลา 30 นาที สามารบอกหรือเขียนเวลาได้สองแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2:30
两点三十分 หรือ 二点半
(เหลียง เตี่ยน ซาน สือ เฟิน) หรือ (เหลียง เตี่ยน ป้าน)
สองนาฬิกาสามสิบนาที หรือ สองโมงครึ่ง
10:30
十点三十分 หรือ 十点半
(สือ เตี่ยน ซาน สือ เฟิน) หรือ (สือ เตี่ยน ป้าน)
สิบนาฬิกาสามสิบนาที หรือ สิบโมงครึ่ง
- หากเลขบอกนาทีไม่เกินสามสิบนาที นิยมบอกเวลาชั่วโมงแล้วตามด้วยจำนวนนาทีตามปกติ เช่น
4:20
四点二十分
(ซื่อ เตี่ยน เอ้อร์ สือ เฟิน)
สี่นาฬิกายี่สิบนาที
5:16
五点十六分
(อู๋ เตี่ยน สือ ลิ่ว เฟิน)
ห้านาฬิกาสิบหกนาที
- หากเลขบอกนาทีเกินสามสิบนาที สามารถบอกเวลาได้สองแบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2:55
两点五十五分 หรือ 差五分三点
(เหลียง เตี่ยน อู่ สือ อู่ เฟิน) หรือ (ช่า อู๋ เฟิน ซาน เตี่ยน)
สองนาฬิกาห้าสิบห้านาที หรือ ขาดอีกห้านาทีสามโมง
11:40
十一点四十分 หรือ 差二十分十二点
(สือ อี เตี่ยน ซื่อ สือ เฟิน) หรือ (ช่า เอ้อร์ สือ เฟิน สือ เอ้อร์ เตี่ยน)
สิบเอ็ดนาฬิกาสี่สิบนาที หรือ ขาดอีกยี่สิบนาทีเที่ยง
ขั้นที่ 4 : เรียนบทสนทนาพื้นฐานเกี่ยวกับการบอกเวลา
การบอกเวลาในภาษาจีนนั้นไม่ยากสำหรับผู้เรียนภาษาจีนระดับพื้นฐาน เพราะวิธีการบอกเวลาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพียงจดจำคำศัพท์และรูปแบบการบอกเวลาง่ายๆ ผู้เรียนก็สามารถบอกเวลาได้อย่างคล่องแคล่ว ต่อไปนี้คือตัวอย่างประโยคสนทนาเกี่ยวกับการบอกเวลาที่มักได้ยินในชีวิตประจำวัน
现在几点了?
(เซี่ยน จ้าย จี๋ เตี่ยน เลอ)
ตอนนี้กี่โมงแล้ว
他几点上课?
(ทา จี๋ เตี่ยน ซ่าง เค่อ)
เขาไปเรียนตอนกี่โมง
你几点到家?
(หนี จี๋ เตี่ยน เต้า เจี๊ย)
คุณถึงบ้านตอนกี่โมง
你几点下班?
(หนี จี๋ เตี่ยน เซี่ย ปาน)
คุณเลิกงานกี่โมง
她今天上班吗?
(ทา จิน เทียน ซ่าง ปาน มะ)
วันนี้เธอทำงานหรือเปล่า
你几点吃晚饭?
(หนี่ จี๋ เตี่ยน ชื้อ หว่าน ฟ่าน)
คุณกินข้าวเย็นตอนกี่โมง
每天八点三刻上班。
(เหม่ย เทียน ปา เตี่ยน ซาน เค่อ ซ่าง ปาน)
ทำงานทุกวันตอนแปดนาฬิกาสี่สิบห้านาที
两个小时左右就到了。
(เหลี่ยง เก้อ เสี่ยว สือ จั่ว โย่ว จิ้ว เต้า เลอ)
อีกประมาณสองชั่วโมงก็จะถึงแล้ว
现在下午两点了。
(เซี่ยน จ้าย เซี่ย หวู่ เหลียง เตี่ยน เลอ)
ตอนนี้บ่ายสองโมงแล้ว
我喜欢在下午的时候吃水果。
(หว่อ ซี ฮวาน จ้าย เซี่ย หวู่ เตอ สือ โฮว ชื้อ สุย กั่ว)
ฉันชอบกินผลไม้ตอนบ่าย
การเรียนภาษาจีนนั้นไม่ยาก เพราะเป็นภาษาที่มีไวยกรณ์ใกล้เคียงกับภาษาไทย ทักษะการฟังและพูดจึงไม่ยากเกินไปนัก ผู้เรียนเพียงแต่จำคำศัพท์ให้ได้ก็ทำให้สามารถสื่อสารได้ในเบื้องต้น สำหรับทักษะการอ่านและการเขียนนั้น ด้วยลักษณะเฉพาะของตัวอักษรภาษาจีน ซึ่งมีความหมายในตัวเอง ไม่มีพยัญชนะหรือสระ ผู้เรียนอาจจะรู้สึกสับสนในช่วงแรก แต่เมื่อเรียนรู้วิธีการเขียนอย่างถูกต้องและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอก็ไม่ยากเกินไปนัก