วิธีบอกเวลาง่ายๆภาษาญี่ปุ่น
การบอกเวลาในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญ แต่การบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพียงแค่จำรูปแบบประโยคและคำศัพท์ที่ต้องใช้เท่านั้นเอง วันนี้เรามานำเสนอวิธีบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นทีละขั้นตอนอย่างง่ายๆ หลังจากอ่านบทความนี้จบ คุณก็สามารถไปฝึกฝนให้คล่องได้เลย
ขั้นที่ 1: เรียนตัวเลขภาษาญี่ปุ่น
ขั้นแรกเราต้องรู้ตัวเลขภาษาญี่ปุ่นก่อน ตัวเลข 1-10 ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้คุณบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นได้
- いち (อิจิ) — 1
- に (นิ) — 2
- さん (ซาน) — 3
- し (ชิ) หรือ よん (โย่ง) — 4
- ご (โก๊ะ) — 5
- ろく (โระคุ) — 6
- しち (ชิจิ) หรือ なな (นานะ) — 7
- はち (ฮะจิ) — 8
- く (คุ) หรือ きゅう (คิว) — 9
- じゅう (จู) — 10
เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นจะอ่านตัวเลขแบบเรียงตัวไปเลย คล้ายกับการอ่านตัวเลขภาษาจีน เช่น 21 คือ 10 สองตัว และ 1 หนึ่งตัว คุณก็จะเขียนเลข 21 เป็น สองสิบหนึ่ง (にじゅういち) อ่านว่า นิจูอิจิ — 21 วิธีบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นจึงคล้ายกับวิธีบอกเวลาภาษาจีนมาก
ลองดูตัวอย่างอื่นๆด้านล่างนี้:
- สี่สิบแปด (よんじゅうはち) อ่านว่า โย่งจูฮะจิ — 48
- แปดสิบสาม(はちじゅうさん) อ่านว่า ฮะจิจูซาน — 83
- ห้าสิบเก้า(ごじゅうきゅう) อ่านว่า โก๊ะจูคิว — 59
- สิบเก้า (じゅうきゅう) อ่านว่า จูคิว — 19
คุณอาจจะสงสัยตัวเลขที่มี 2 รูปแบบ นั่นก็คือเลข 4, 7 และ 9
- し (ชิ) หรือ よん (โย่ง) — 4
- しち (ชิจิ) หรือ なな (นานะ) — 7
- く (คุ) หรือ きゅう (คิว) — 9
ตัวเลขรูปแบบแรก し, しち และ くจะใช้เมื่อคุณนับเลขแบบเดี่ยวๆ ตัวเดียว ส่วนตัวเลขรูปแบบที่สองจะใช้เมื่อมีการผสมตัวเลขเป็นเลขสองหลักขึ้นไป เช่น 40 จะเป็น สี่สิบ (よんじゅう) อ่านว่า โย่งจู
ขั้นที่ 2: เรียนคำที่เกี่ยวข้องกับเวลา
คำที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่สำคัญมีดังนี้
- ごぜん (โก๊ะเซ็น) — a.m. เวลาช่วงเช้า (ตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 11.59 น.)
- ごご (โก๊ะโก๊ะ) — p.m. เวลาช่วงบ่าย (ตั้งแต่เที่ยงวันถึง 23.59 น.)
- びょう (เบียว) — วินาที
- ふん (ฟุน) หรือ ぷん (ปุน) — นาที
- とじ (โทจิ) — ชั่วโมง
- はん (ฮาน) — ครึ่ง
- じかん (จิคัง) — เวลา
เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นจะอ่านเวลาตามเข็มนาฬิกาแบบ 12 ชั่วโมง จึงมีการแบ่งเวลาเป็น a.m./p.m. หรือช่วงเช้าและช่วงบ่าย เหมือนการบอกเวลาภาษาอังกฤษ เมื่อได้คำศัพท์เกี่ยวกับเวลาแล้ว คุณก็สามารนำตัวเลขและคำที่เกี่ยวข้องกับเวลามาเรียงกันตามลำดับได้ดังต่อไปนี้:
เวลาช่วงเช้า/เวลาช่วงบ่าย + ชั่วโมง + นาที
ごごくじよんぷん (โก๊ะโก๊ะคุจิโย่งปุน) — 9:04 p.m. (21:04 น.)
เวลาช่วงเช้า/เวลาช่วงบ่าย + ชั่วโมง + ครึ่ง
ごぜんごじはん (โก๊ะเซ็นโก๊ะจิฮาน) — 5:30 a.m. (5:30 น.)
ขั้นที่ 3: เรียนคำลักษณะนาม
คำลักษณะนามที่ใช้ในการบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นมีดังนี้:
ชั่วโมง
- いちじ (อิจิจิ) — 1 นาฬิกา
- にじ (นิจิ) — 2 นาฬิกา
- さんじ (ซานจิ) — 3 นาฬิกา
- よじ (โย่งจิ) — 4 นาฬิกา
- ごじ (โก๊ะจิ) — 5 นาฬิกา
- ろくじ (โระคุจิ) — 6 นาฬิกา
- しちじ (ชิจิจิ) — 7 นาฬิกา
- はちじ (ฮะจิจิ) — 8 นาฬิกา
- くじ (คุจิ) — 9 นาฬิกา
- じゅうじ (จูจิ) — 10 นาฬิกา
- じゅういちじ (จูอิจิ) — 11 นาฬิกา
- じゅうにじ (จูนิจิ) — 12 นาฬิกา
นาที
- いっぷん (อิจิปุน) — 1 นาที
- にふん (นิฟุน) — 2 นาที
- さんぷん (ซานปุน) — 3 นาที
- よんぷん (โย่งปุน) — 4 นาที
- ごふん (โก๊ะฟุน) — 5 นาที
- ろっぷん (โระคุปุน) — 6 นาที
- ななふん (นานะฟุน) — 7 นาที
- はっぷん (ฮะจิปุน) — 8 นาที
- きゅうふん (คิวฟุน) — 9 นาที
- じゅっぷん (จูปุน) — 10 นาที
ส่วนนี้อาจจะนับเป็นส่วนที่ยากที่สุด เนื่องจากนอกจากตัวเลขจะมีการเปลี่ยนรูปแล้วคำลักษณะนามสำหรับ “นาที” ยังมีรูปที่ต่างกันอีกด้วย นั่นคือ ふん (ฟุน) และ ぷん (ปุน) ซึ่งการเปลี่ยนรูปและการใช้ลักษณะนามกับตัวเลขต่างๆต้องอาศัยการจำ โดยหากข้างหน้าเป็นเลข 2, 5, 7, 9 ให้ใช้ ふん (ฟุน) แต่ถ้าข้างหน้าเป็นเลข 1, 3, 4, 6, 8, 10 ให้ใช้ ぶん (ปุน)
วินาที
สำหรับการใช้ “วินาที” นั้นเป็นส่วนที่ง่ายกว่า “นาที” มาก เพียงแค่เติม びょう (เบียว) ซึ่งมีความหมายว่า “วินาที” หลังตัวเลขเหล่านั้นก็เป็นอันใช้ได้แล้ว
- いちびょう (อิจิเบียว) — 1 วินาที
- きゅうびょう (คิวเบียว) — 9 วินาที
- じゅうご びょう (จูโก๊ะเบียว) — 15 วินาที
ด้านบนนี้เป็นการบอกเวลาในภาษาญี่ปุ่นแบบตามเข็มนาฬิกา 12 ชั่วโมง ในการบอกเวลาสำหรับตารางเครื่องบิน หรือรถไฟฟ้า เป็นต้น มักเป็นการบอกเวลาแบบ 24 ชั่วโมงซึ่งมีลักษณะการบอกเวลาแบบที่เราใช้กันในประเทศไทย เช่น じゅう じよじさんじゅうごふん (จูโยะจิซานจูโก๊ะฟุน) = 14 นาฬิกา 35 นาที อย่างไรก็ตามการเรียนภาษาต่างประเทศให้ได้ผลดี ต้องอาศัยการจำและการฝึกฝนที่สม่ำเสมอ ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นก็เช่นกัน การจำและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่วในอนาคต