ขอให้เป็นวันที่ดีภาษาญี่ปุ่น Have a nice day! พูดยังไงดี?

ขอให้เป็นวันที่ดีภาษาญี่ปุ่น คือ

  • 良一日を (過ごしてください)。
    yoi ichinichi wo (sugoshi te kudasai)
    ขอให้เป็นวันที่ดี

ประโยคนี้เป็นประโยคที่เราจะได้รับ หากเราใช้ Google Translate แปลประโยคนี้ออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่น

คำแรกคือคำว่า 良い (yoi) หมายถึง “ดี” ส่วนคำที่สองคือ 一日 (ichi nichi) แปลว่า “วันหนึ่ง”

ต่อมาจะเป็นคำในวงเล็บที่มีความหมายในเชิง ขอร้อง, อ้อนวอน เป็นต้น

過ごしてください (sugoshi te kudasai) — กรุณาใช้

ประโยคนี้จึงแปลว่า “ขอให้มีวันที่ดี” แต่เป็นประโยคที่ไม่ได้ถูกใช้จริงเลยในชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากคุณใช้ประโยคนี้ก็อาจฟังดูไม่เป็นธรรมชาติเอามากๆ เพื่อให้คุณได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ ครูภาษาญี่ปุ่นของเราจะมาอธิบายให้ฟังว่าคนญี่ปุ่นใช้ประโยคไหนในการอวยพรวันที่ดีกันบ้าง และใช้ในสถานการณ์ใด

ขอให้เป็นวันที่ดี ภาษาญี่ปุ่น

  • いってらっしゃい。
    (itterasshai.)
    ขอให้เป็นวันที่ดี

คำแปลที่ใกล้เคียงและมีความหมายคล้ายกับประโยคขอให้เป็นวันที่ดีภาษาอังกฤษมากที่สุด (“Have a Good Day” — “ขอให้เป็นวันที่ดี”) หากเปรียบเทียบกับภาษาไทยก็เปรียบเสมือนการบอกว่า “ไปดีมาดีนะ” นั่นแหละ

ในภาษาญี่ปุ่นสำนวนจะถูกพูดเมื่อมีใครสักคนในบ้านกำลังจะออกจากบ้าน พูดง่ายๆคือ พวกเขาจะใช้ประโยคนี้เพื่ออวยพรให้คนในครอบครัวก่อนออกไปทำงานนั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ในการบอกลาภาษาญี่ปุ่นได้อีกด้วย และคนญี่ปุ่นหลายคนยังนิยมอวยพรขอให้โชคดีภาษาญี่ปุ่นก่อนที่บุคคลใดๆ กำลังจะเดินทาง หรือกำลังจะทำสิ่งที่ท้าทายก็ได้

ตัวอย่างบทสนทนาขอให้เป็นวันที่ดีภาษาญี่ปุ่น

การใช้ประโยคนี้มักถูกใช้ในสถานการณ์หลักๆ ที่คนในครอบครัวกำลังจะออกจากบ้าน เช่น ลูกชายกำลังออกจากบ้านเพื่อไปโรงเรียน หรือสามีกำลังจะออกจากบ้านไปทำงาน เป็นต้น

今行ってくるね!
(ima itte kuru ne!)
ฉันไปแล้วนะ

もう行くの?いってらっしゃい !
(mou iku no? itterasshai!)
จะไปแล้วเหรอ ขอให้เป็นวันที่ดีนะ!

แต่สำหรับสถานการณ์อื่นๆที่ต่างจากนี้ เราจะไม่ใช้ประโยค いってらっしゃい (itterasshai) แล้ว

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณไปซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณจะไม่พูดว่า いってらっしゃい (itterasshai) กับพนักงานแคชเชียร์หลังการให้บริการ ในสถานการณ์แบบนี้สำหรับชาวญี่ปุ่นจะพูดเพียงคำขอบคุณภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น

ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี ภาษาญี่ปุ่น

  • 楽しんでね。
    (tanoshinde ne.)
    ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี

สำนวนนี้ใช้พูดกับเพื่อนที่กำลังจะไปงานเลี้ยงสังสรรค์, กำลังจะไปเริ่มงานที่ทำงานใหม่หรือกำลังจะไปงานสำคัญ ในสถานการณ์แบบนี้เราอาจจะอยากบอกพวกเขาว่า “ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี”

การอวยพรให้ใครมีช่วงเวลาที่ดีในภาษาญี่ปุ่น สามารถใช้สำนวน 楽しんでね (tanoshinde ne) ได้ เราสามารถใช้สำนวนนี้ในสถานการณ์ที่คุณต้องการให้ใครสักคนมีช่วงเวลาที่ดีในสิ่งที่พวกเขากำลังทำหรือกำลังจะทำ

明日は台湾に行くんだ!楽しんでね!
(ashita ha taiwan ni ikunda! tanoshinde ne!)
คุณกำลังจะไปไต้หวันวันพรุ่งนี้ใช่มั้ย? ขอให้มีช่วงเวลาที่ดีนะ!

คำว่า ね (ne)ในประโยคนี้ทำให้ฟังดูอบอุ่นและเป็นมิตรมากยิ่งขึ้นเมื่อพูดออกไป แต่ก็สามารถละคำว่า ね (ne) ไว้ และพูดสั้นๆ เพียง

楽しんで (tanoshinde)

ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับสถานการณ์กับคนที่คุณกำลังคุยด้วย

สำนวนนี้ เป็นสำนวนสบายๆ มีความเป็นกันเอง เพราะฉะนั้นจะดีที่สุดหากใช้พูดกันระหว่างเพื่อนฝูงหรือกับคนในครอบครัว

ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี (แบบเป็นทางการ) ภาษาญี่ปุ่น

หากต้องการพูดประโยคนี้ให้สุภาพมากขึ้น (ซึ่งควรจะทำเมื่อใช้ประโยคนี้พูดกับหัวหน้า, คุณครู, คนแปลกหน้าหรือคุณพ่อคุณแม่ของสามีหรือภรรยา) เราต้องตัดคำว่า ね (ne) ทิ้งไปและเพิ่มคำว่า ください (kudasai) เข้าไปแทน เป็น

  • 楽しんでください。(tanoshinde kudasai) — ขอให้สนุกนะ, ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี

คุณอาจจะเคยได้ยินผู้ประกาศทางทีวีพูดบอกให้คุณเพลิดเพลินกับรายการต่างๆ เช่น

今からゼルダの伝説の新しいトレーラーを皆さんに発表したいと思います!楽しんでください!
(ima kara zeruda no densetsu no atarashii tore-ra- wo mina san ni happyou shitai to omoimasu! tanoshinde kudasai!)
ตอนนี้เรากำลังพาคุณไปรับชมภาพยนตร์ตัวอย่างเรื่อง “The New Legend of Zelda” ขอให้ทุกคนสนุกกับการรับชมนะคะ!

ください (kudasai) เป็นวิธีการพูดแบบสุภาพ เช่นเดียวกับพูดคำว่าได้โปรดในภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย เป็นวิธีที่จะแสดงความเคารพต่อบุคคลที่คุณกำลังคุณด้วย

ขอให้สนุกนะ ภาษาญี่ปุ่น

  • 今日楽しんで。
    (kyou tanoshinde.)
    ขอให้สนุกนะ

หากใครบางคนกำลังตั้งหน้าตั้งตารอวันนั้นที่กำลังจะมาถึง เช่น วันเกิด, วันปีใหม่ เป็นต้น เราสามารถใช้ประโยค 今日楽しんで (kyou tanoshinde) เพื่ออวยพรให้พวกเขาสนุกและมีความสุขร่วมกับการอวยพรวันเกิดภาษาญี่ปุ่น หรือการอวยพรวันปีใหม่ภาษาญี่ปุ่นก็ได้ ประโยคนี้คล้ายคลึงกับ “ขอให้มีช่วงเวลาที่ดี” ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้

友達と一緒に遊園地に行くの?いいな。今日楽しんで。
(tomodachi to isshoni yuuenchi ni iku no? ii na. kyou tanoshinde)
คุณจะไปสวนสนุกกับเพื่อนๆวันนี้เหรอ น่าสนุกจัง ขอให้สนุกนะ

ประโยค 楽しんで (tanoshinde) เป็นการพูดที่ฟังดูเหมือนว่าคุณกำลังขอร้องให้ใครคนนั้นมีวันที่ดี สื่อให้เห็นว่าคุณอยากให้เขามีวันที่สนุกมากๆ

ประโยค 今日楽しんで (kyou tanoshinde) เป็นอีกสำนวนง่ายๆสบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง ถ้าเราต้องการให้สุภาพให้มากขึ้น เราจะเติมคำว่า ください (kudasai) ที่ท้ายประโยค ซึ่งแปลตรงตัวว่า “กรุณา, โปรด” เมื่อเติมเข้าไปในประโยคดังกล่าวก็จะฟังดูสุภาพมากขึ้น

今日楽しんでください (kyou tanoshinde kudasai)

ขอให้เป็นสุดสัปดาห์ที่ดี ภาษาญี่ปุ่น

  • 週末はゆっくりしてね。
    (shuumatsu wa yukkuri shi te ne.)
    ขอให้เป็นสุดสัปดาห์ที่ดี , ขอให้มีความสุขในวันสุดสัปดาห์

เมื่อใครที่เรารู้จักต้องเจอกับเรื่องยุ่งยากตลอดสัปดาห์ เราสามารถใช้สำนวนในภาษาญี่ปุ่นว่า 週末はゆっくりしてね (shuumatsu ha yukuri shi te ne) เพื่อบอกกับพวกเขา “ขอให้เป็นสุดสัปดาห์ที่ดี” ได้

แต่ต้องระวังการใช้สำนวนนี้ในภาษาญี่ปุ่น เพราะสำนวน 週末はゆっくりしてね (shuumatsu ha yukuri shi te ne) จะถูกใช้สำนวนนี้ก็ต่อเมื่อต้องการบอกใครสักคนว่า “ขอให้สุดสัปดาห์นี้ได้พักผ่อนนะ” หรือ “ทำตัวสบายๆในวันหยุดนะ” เราจะไม่ใช่ประโยคนี้กับการพูดกับพนักงานแคชเชียร์หลังจากจ่ายเงินเสร็จ เป็นต้น แต่เราจะใช้เมื่อเราต้องการบอกให้บุคคลดังกล่าวได้พักผ่อนจริงๆ

ตัวอย่างการใช้ประโยค

今週は大変だったね。週末はゆっくりしてね。
(konnshuu ha taihen datta ne. shuumatsu ha yukkuri shi te ne.)
สัปดาห์นี้ลำบากหน่อยนะ ใช่ไหม ขอให้สุดสัปดาห์นี้ได้พักผ่อนนะ

คำว่า 週末 (shuumatsu) ในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ”สุดสัปดาห์”

ส่วนต่อมาคือ は (wa) ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ประธานในภาษาญี่ปุ่น ใช้เพื่อบอกว่าคำที่อยู่ด้านหน้าเป็นประธานของประโยค และส่วนที่สามคือ ゆっくりして (yukkuri shi te) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ค่อยๆไป” , “ใจเย็นๆ” หรือ “ทำตัวสบาย“

วันนี้ทำได้ดีมาก ภาษาญี่ปุ่น

  • お疲れ様。
    (otsukaresama.)
    ทำได้ดีมาก, ขอบคุณนะ

สมมติว่าคุณกำลังจะเสร็จงานและใกล้จะถึงเวลากลับบ้านแล้ว ระหว่างนี้คุณอาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานของคุณว่า お疲れ様(です)(otsukaresama)

คำว่า お疲れ様 (otsukaresama) จะใช้เมื่อต้องการบอกใครสักคนว่าเรารับรู้และอยากจะขอบคุณที่พวกเขาทำงานอย่างหนัก เพื่อเป็นการขอบคุณความพยายามทั้งหมดของพวกเขาแทน

ตัวอย่างการใช้ประโยค

今日お疲れ様です。
(kyou otsukaresama desu.)
วันนี้ทำได้ดีมาก
(ขอบคุณสำหรับการทำงานในวันนี้)

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน ภาษาญี่ปุ่น

ลองคิดดูว่า หากคุณอยู่ที่บ้านและแฟนของคุณที่อยู่ด้วยกันกับคุณ เพิ่งกลับจากที่ทำงานหรืองานบางอย่างที่ต้องใช้ความพยายามมาอย่างหนัก คำแรกคุณควรจะพูดกับเขาว่า

  • お帰り!
    (okaeri)
    ยินดีต้อนรับกลับบ้าน!

เพื่อเป็นการต้อนรับเขากลับบ้าน ซึ่งเป็นประโยคที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น และคุณอาจจะพูดกับพวกเขาต่อ ด้วยประโยค お疲れ様 (otsukaresama) เพื่อสื่อความหมายว่า “หวังว่าคุณจะมีวันที่ดี, ได้เวลาพักผ่อนแล้ว”

ตัวอย่างเช่น

お帰り!お疲れ様。
(okaeri! otsukaresama.)
ยินดีต้อนรับกลับบ้าน! หวังว่าคุณจะมีวันที่ดีนะ.

ในกรณีนี้ ในภาษาญี่ปุ่นไม่ได้หมายถึง “หวังว่าคุณจะมีวันที่ดี“ ตรงๆซะทีเดียว แต่คุณกำลังบอกผู้ฟังว่า ”วันนี้ทำได้ดีมาก ได้เวลาพักผ่อนแล้ว” มากกว่า

ฉันหวังว่าคุณจะมีช่วงเวลาที่ดีๆ ภาษาญี่ปุ่น

  • 楽しかった?
    (tanoshikatta?)
    คุณมีช่วงเวลาที่ดีไหม?

ในภาษาญี่ปุ่นเราจะพูดประโยคนี้เมื่อต้องการสื่อความหมายว่า “ฉันหวังว่าคุณจะมีช่วงเวลาที่ดี” หรือ “ฉันหวังว่าคุณจะมีช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยม” สังเกตว่าประโยคนี้จะอยู่ในรูปอดีต เพื่อบอกว่าคุณทราบว่าวันของพวกเขาได้ผ่านไปแล้ว และหวังว่ามันจะเป็นวันที่ดีในภาษาญี่ปุ่น

ประโยคนี้ใช้ง่าย สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์และไม่มีข้อยกเว้นหรือการใช้งานในรูปแบบที่ไม่ปกติอื่นๆ

เพื่อเจาะจงช่วงเวลามากขึ้น เราจะใช้คำต่อไปนี้หน้าประโยค

今日 (kyou) — “วันนี้”

เมื่อเติมคำนี้ที่หน้าประโยค จะเป็นการถามอย่างเจาะจงว่า วันนี้ของพวกเขาผ่านไปได้ด้วยดีหรือเปล่า

ตัวอย่างเช่น

今日楽しかった?。
(kyou tanoshikatta?)
วันนี้คุณมีช่วงเวลาที่ดีมั้ย?

จำให้ขึ้นใจเลยว่า หากต้องการบอกใครสักคนว่า “ฉันหวังว่าวันนี้คุณจะมีช่วงเวลาที่ดี“ เป็นภาษาญี่ปุ่น คุณจะต้องใช้ประโยคนี้เป็นประโยคคำถามเท่านั้น เนื่องจากหากแปลตามตัวอักษร สำนวน 楽しかった (tanoshikatta) จะแปลว่า “คุณสนุกไหม” มากกว่า “ฉันหวังว่าคุณจะสนุก”

ฉันหวังว่าวันนี้คุณจะมีช่วงเวลาที่ดี (แบบเป็นทางการ)

เมื่อต้องการพูดกับใครสักคนที่เรายังไม่รู้จักดี เช่น หัวหน้าหรือคุณครู จำเป็นต้องพูดอย่างสุภาพ โดยการใส่คำว่า

ですか (desuka)

ลงไปที่ท้ายประโยค การทำแบบนี้จะทำให้ประโยคฟังดูเป็นทางการมากขึ้น กลายเป็น

  • 楽しかったです
    (tanoshikatta desuka?)

    คุณมีช่วงเวลาที่ดีไหมครับ/คะ?

ตัวอย่างเช่น

海は楽しかったですか?
(umi ha tanoshikatta desuka?)
ที่ชายหากคุณสนุกไหม?, ที่ชายหาดคุณมีช่วงเวลาที่ดีไหม?

การเติมคำว่า か (ka) ใน ですか (desuka) ทำให้ประโยคนี้กลายเป็นประโยคคำถาม

ขอให้เป็นวันที่ดี เพื่อบอกลา แบบเป็นกันเอง

  • またね。
    (mata ne)
    ไว้เจอกัน
  • またあとで。
    (mata atode.)
    แล้วเจอกันทีหลังนะ

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าในภาษาญี่ปุ่นจะไม่ได้พูดกับใครตรงๆว่า “ขอให้เป็นวันที่ดี“ แต่ส่วนใหญ่เราจะอวยพรให้พวกเขามีวันที่ดีในตอนที่พูดอำลากันมากกว่า ดังนั้นแทนที่จะพูดคำว่าขอเป็นวันที่ดี คนญี่ปุ่นก็อาจจะพูดแค่ลาก่อนภาษาญี่ปุ่นก็ได้

การพูดว่า “เจอกันใหม่นะ” ในภาษาญี่ปุ่น เราตัดตัว ね ทิ้งแล้วเปลี่ยนเป็น あとで (atode) แทน

ตัวอย่างเช่น

今日ありがとう!またあとで!
(kyou arigatou! mata atode!)
ขอบคุณสำหรับวันนี้นะ ไว้เจอกัน!

คำว่า あとで (atode) ตัวมันเองแปลว่า ”ต่อมา” หรือ ”หลังจากนั้น” เมื่อใส่เข้าไปในประโยคจึงกลายเป็น またあとで ซึ่งสื่อความหมายว่า “ไว้เจอกันทีหลังนะ” ในภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง

สิ่งที่ต้องจำไว้คือ เราจะใช้ประโยคนี้กับคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมเท่านั้น เช่น เพื่อนหรือคนในครอบครัว

ขอให้เป็นวันที่ดี แบบสุภาพ ภาษาญี่ปุ่น

  • ごきげんよう
    (gokigenyou)
    ขอให้เป็นวันที่ดี

แม้ประโยคนี้จะแปลว่า “ขอให้เป็นวันที่ดี” อย่างสุภาพในภาษาญี่ปุ่น แต่เราจะไม่ค่อยได้ยินสำนวนนี้ในบทสนทนาในชีวิตประจำวัน แม้มันจะถูกหลักไวยกรณ์และคนญี่ปุ่นจะเข้าใจที่คุณพูด แต่มันฟังดูไม่เป็นธรรมชาติในภาษาญี่ปุ่น

ส่วนแรกคือ คำว่า ご (go) เป็นคำนำหน้าเพื่อให้เกียรติคู่สนทนา เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ฟัง ส่วนต่อมา คือ きげん (kigen) หมายถึง “อารมณ์” หรือ “จิตวิญญาณ” สุดท้ายคือ よい (you) เป็นคำสมัยเก่า แปลว่า ”ดี” ในภาษาญี่ปุ่น รวมกันแล้วสื่อความหมายว่า “จงมีอารมณ์ดี”

ขอให้เป็นวันที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่น

ประโยคในภาษาญี่ปุ่นคือ

  • 日本語の勉強を頑張って!
    (nihongo wo benkyou wo ganbatte!)
    ขอให้เป็นวันที่ดีสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่น

การบอก “ขอให้เป็นวันที่ดี” ในภาษาญี่ปุ่น ก็เหมือนกับการบอกขอให้เป็นวันที่ดีภาษาจีน และภาษาไทยที่เรามักไม่พูดคำนี้ตรงๆ แต่มีวิธีพูดหลายวิธีในสถานการณ์ที่ต่างกัน เช่น “ไปดีมาดีนะ”, “เดินทางปลอดภัยนะ” หรือ “โชคดีนะ” นั่นเอง การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น แม้จะเป็นเพียงแค่ประโยคภาษาญี่ปุ่นง่ายๆ จึงไม่ใช่แค่รู้คำแปลเท่านั้น แต่จำเป็นต้องรู้วิธีใช้ประโยคต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติในสถานการณ์ที่เหมาะสมด้วย

อัพเดทล่าสุด: