8 ทริคเด็ดวิชาเลขที่ทำให้คุณทึ่ง
แค่กล่าวถึงวิชาเลขหรือวิชาคณิตศาสตร์ก็ทำให้หลายๆคนเริ่มรู้สึกตึงเครียดขึ้นมาทั้งที่ยังไม่ได้เริ่มคำนวณอะไรเลยเสียแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าคณิตศาสตร์ก็สามารถกลายเป็นเรื่องสนุกและน่าทึ่งได้เช่นกันถ้าคุณได้รู้ 8 ทริคเด็ดๆที่เรานำมาเสนอคุณในวันนี้
คูณด้วย 6
ในการคูณเลขคู่ตัวเดียวด้วย 6 คุณจะพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ในหลักหน่วยจะลงท้ายด้วยเลขคู่ตัวนั้นและในหลักสิบจะเป็นตัวเลขที่มีค่าครึ่งหนึ่งของหลักหน่วย
ตัวอย่าง: 6 x 4 = 24
ผลลัพธ์เท่ากับ 2 เสมอ
- กำหนดเลขขึ้นมาหนึ่งจำนวน
- คูณด้วย 3
- บวกด้วย 6
- หารด้วย 3
- นำค่าที่ได้จากข้อ 4. ลบด้วยตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาในข้อ 1.
ผลลัพธ์จะเท่ากับ 2 เสมอ
ผลลัพธ์เท่ากับ 3 เสมอ
- กำหนดเลขขึ้นมาหนึ่งจำนวน
- คูณตัวเลขนั้นด้วย 2
- บวกด้วย 9
- ลบด้วย 3
- หารด้วย 2
- นำค่าที่ได้จากข้อ 5. ลบด้วยตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาในข้อ 1.
ผลลัพธ์จะเท่ากับ 3 เสมอ
เลขตองสามหลัก
- กำหนดตัวเลขสามหลักที่ในแต่ละหลักเป็นเลขตัวเดียวกันขึ้นมาหนึ่งจำนวน ตัวอย่างเช่น 333, 666, 777 หรือ 999 เป็นต้น
- นำตัวเลขทั้ง 3 ตัวมาบวกกัน
- นำตัวเลขที่กำหนดไว้ในข้อที่ 1. หารด้วยผลลัพธ์ที่ได้ในข้อที่ 2.
ผลลัพธ์จะเท่ากับ 37 เสมอ
หารด้วย 7 11 13
- กำหนดตัวเลขสามหลักขึ้นมาหนึ่งจำนวน แต่เขียนซ้ำกันสองครั้งเพื่อให้กลายเป็นเลขหกหลัก ตัวอย่างเช่น กำหนด 317 เขียนเป็น 371,371 หรือ กำหนด 552 เขียนเป็น 552,552 เป็นต้น
- หารด้วย 7
- หารด้วย 11
- หารด้วย 13 (หารด้วยเลขตัวไหนก่อนก็ได้)
ผลลัพธ์จะเท่ากับตัวเลขสามหลักจำนวนแรกที่คุณกำหนดขึ้นมา
ทริคสำหรับเลขสามหลักในทางคูณ
- กำหนดเลขสามหลักขึ้นมาหนึ่งจำนวน
- คูณด้วย 7, 11, และ 13 (คูณด้วยจำนวนในก่อนก็ได้)
ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนของเลขสามหลักที่กำหนดขึ้นในข้อหนึ่งซ้ำกันสองครั้ง เช่น ถ้ากำหนด 456 ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากการคูณจะเท่ากับ 456,456
กฏของ 11
ด้านล่างนี้เป็นการคูณเลขสองหลักด้วย 11 อย่างง่ายมาก
- แยกเลขสองหลักนั้นออกจากกัน
- บวกเลขสองตัวนั้นเข้าด้วยกัน
- นำผลลัพธ์ที่ได้ใส่ตรงกลางระหว่างเลขสองหลักที่เราจับแยกในข้อหนึ่ง (หากผลลัพธ์เป็นเลขสองหลักเช่นกัน ให้นำตัวเลขที่อยู่ในหลักสิบบวกเข้ากับเลขข้างหน้า)
ตัวอย่างเช่น: ผลลัพธ์ของ 72 x 11 จับเลขแยกกัน (7_2) นำเลขมาบอกกัน (7+2 = 9) นำผลลัพธ์ (9) ใส่ตรงกลาง = 792
ผลลัพธ์ของ 57 x 11 จับเลขแยกกัน (5 _ 7) นำเลขมาบวกกัน (5 + 7 = 12) นำผลลัพธ์ ใส่ตรงกลางโดยนำตัวเลขที่อยู่ในหลักสิบบวกเข้ากับเลขข้างหน้า (1 + 5) = 627
การจำค่าพาย (π)
วิธีนี้อาจต้องใช้ความรู้ภาษาอังกฤษสักหน่อย แต่ถ้าทำได้แล้วล่ะก็จะสามารถจำค่าพายได้ถึง 7 หลักเลยทีเดียว!
วิธีที่ว่าคือการจำจำนวนตัวอักษรภาษาอังกฤษของแต่ละคำในประโยคด้านล่างนี้นั่นเอง
“How I wish I could calculate pi.”
H,o,w = 3
I = 1
w,i,s,h = 4
I = 1
c,o,u,l,d = 5
c,a,l,c,u,l,a,t,e = 9
p,i = 2
ค่าพายใน 7 หลักแรกคือ 3.141592
ผลลัพธ์ประกอบด้วยเลข 1, 2, 4, 5, 7, 8
- เลือกตัวเลขจาก 1 ถึง 6 มาหนึ่งจำนวน
- คูณด้วย 9
- คูณด้วย 111
- คูณด้วย 1001
- หารด้วย 7
ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบด้วยเลข 1, 2, 4, 5, 7 และ 8 เท่านั้นในหลักต่างๆ
ตัวอย่าง: ถ้าตัวเลขที่เลือกในข้อ 1. คือ 5 ผลลัพธ์ที่ได้คือ 714,285
ตัวเลขไม่ได้มีแต่เรื่องน่าเบื่อหรือน่ากลัวไปซะทั้งหมดจนทำให้หลายๆคนกลัวที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไปซะงั้น จะเห็นได้ว่าตัวเลขก็สามารถเป็นเรื่องสนุกได้เช่นกัน โดนเฉพาะทริคเหล่านี้ที่บางทริคสามารถนำไปใช้คำนวณเพื่อให้คิดเลขเร็วขึ้นได้ ในขณะที่หลายๆทริคเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านี้ก็สามารถนำไปเล่นกับเพื่อนเพื่อความสนุกสนานได้อีกด้วย