อาจารย์กิตติวัฒน์ ขวัญเรืองอริยะ ครูป๊อป
ประวัติการศึกษา
๏มัธยมศึกษา-อนุปริญญา / ป.นก.-ป.นส.นาฏศิลปไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
๏ปริญญาตรี / ค.บ.นาฏศิลปไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
๏ ปริญญาโท / ศศ.ม. สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.2544 –ปัจจุบัน เจ้าของกิจการเช่าชุด จัดการแสดง และขบวนแห่ "ร้านปิยนาฏยา"
พ.ศ.2545 ร่วมสอนโครงการขยายการศึกษาศิลปะแด่ผู้พิการ โดย กรมศิลปากร ณ โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร
พ.ศ.2546 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ณ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
พ.ศ.2547-ปัจจุบัน ครูนาฏศิลปไทย ชมรมนาฏศิลปและดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ.2549 อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
พ.ศ.2550 รักษาการหัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
พ.ศ.2553-ปัจจุบัน อาจารย์โรงเรียนสาธิมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทุนการศึกษาที่ได้รับ
พ.ศ.2540 ได้รับทุนจาก มูลนิธิคุณแม่ลมุล ยมะคุปต์ พิจารณาจากผู้มีความสามารถทางนาฏศิลป์ โดย คณะกรรมการทุนการศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
พ.ศ.2545 ได้รับ “ทุนนริศรานุวัดติวงศ์” พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลปไทย โดย สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร
ตัวอย่างผลงานด้านการแสดง
พ.ศ.2542 แสดงนาฏศิลปไทยหน้าพระที่นั่ง ระหว่างทรงเสด็จแปรพระราชฐานมายังจังหวัดเชียงใหม่ โดย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
พ.ศ.2545 เป็นตัวแทนประเทศไทยเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ณ ไต้หวัน
โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พ.ศ.2547 ได้รับการถ่ายทอดท่ารำ ฉุยฉายเชียงใหม่ จาก อาจารย์พรพรรณ วัฑฒนายน เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนรำไทย แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ.2549 ฝึกซ้อมนักศึกษาจำนวน 22 คน ร่วมแสดง ในการแสดงแสง เสียง มหากาพย์ ดนตรีกลางน้ำ (The Water Symphony Orchestra) เรื่อง "ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง วีรบุรุษแห่งอุษาคเนย์" ณ เวทีกลางกว๊านพะเยา โดย ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
พ.ศ.2550 ประดิษฐ์ท่ารำ และซ้อมการแสดง “ตับ มช.” เป็นเพลงที่อาจารย์มนตรี ตราโมทศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านดนตรีไทย ได้ประพัน์บทเพลงนี้ไว้เพื่อเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในแบบฉบับไทยเดิม แสดงในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 35 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
พ.ศ.2551 เป็นผู้จัดการแสดงพิธีเปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ (งานสงกรานต์) โดย เทศบาลนครเชียงใหม่
พ.ศ.2551 เป็นกรรมการตัดสินการประกวดต่างๆ เช่น โดมอนแมน ภาคเหนือ,นางสาวเหมันต์นครพิงค์,การประกวดฟ้อนเล็บ,การประกวดหนูน้อยต่างๆ
พ.ศ.2552 ร่วมโครงการเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป โดย ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-เชียงใหม่
พ.ศ.2552 เป็นผู้กำกับและจัดทำบท การแสดงแสง เสียง ตำนานบ้านถวาย ในงานย่านการค้าพาณิชย์บ้านถวายหมู่บ้านสร้างสรรค์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดย ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
พ.ศ.2553 เป็นผู้จัดทำขบวนรถบุปผชาติของอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ได้รับรางวัล ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ครั้งที่ 35 โดย ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
พ.ศ.2554 บุกเบิกโขนเยาวชน จากจังหวัดเชียงใหม่ แสดงเผยแพร่ในงานวัฒนธรรม 4 ชาติและเอกลักษณ์เอเชีย ณ ประเทศฝรั่งเศส โดย ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-เชียงใหม่
พ.ศ.2554 ได้รับคัดเลือกให้เป็น “พญาจ่าฟ้อน” ฟ้อนนำในขบวนแห่ พิธีบวงสรวงพระเจ้าพรหมมหาราช ณ ที่ว่าการ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
พ.ศ.2554 แสดงเป็นรามสูรในพิธีเปิดสวนน้ำบาดาล ในงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554
พ.ศ.2555 จัดการแสดงพิธีเปิด การประกวด เทพบุตรสลุงหลวง ประจำปี 2555 ณ เวทีสวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา จ. ลำปาง โดย เทศบาลนครลำปาง
พ.ศ.2555 บุกเบิกการฟ้อนเล็บฉบับคุ้มเจ้าหลวง แต่งกาย 4 สมัย แสดงในงานเปิดอาคารศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี โดย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน มีศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามหลายแขนง นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในดินแดนนี้ จากประสบการณ์การสอนและการแสดงของเราทั้งในและต่างประเทศ "ปิยนาฏยา"จึงกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย สำหรับผู้ที่สนใจเพื่อเป็นการเสริมทักษะ สมาธิ พัฒนาบุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทั้งยังรับจัดการแสดงเผยแพร่ศิลปว้ฒนธรรมของชาติและมีเครื่องแต่งกายพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงบริการ
เราดำเนินงานด้วย(ปิย) สิ่งที่รัก (นาฏยา) นาฏศิลป์ จึงทำให้งานของเรามีคุณภาพเป็นที่ชื่นชอบและไว้วางใจของสังคมตลอดมา
ยังไม่มีรีวิว